...
...
เผยแพร่: 31 ส.ค. 2554
หน้า: 49-56
ประเภท: บทความวิจัย
View: 207
Download: 215
Download PDF
การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบร่วมมือ รายวิชาสังคมศึกษา สาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
Development of Instructional Activities on the Social Studies’ Substances of Civic Duties, Cultures and Making a Living in Society by Using Cooperative Learning for Mathayom Suksa 4
ผู้แต่ง
เพ็ญศรี เคนไชยวงศ์, พชร มีกลาง, สุเทพ การุณย์ลัญจกร
Author
Pensri Kenchaiwong, Phachara Meeklang, Suthep Karoonlanjakorn

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาลักษณะองค์ประกอบและประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาสังคมศึกษาโดยใช้รูปแบบการเรียนแบบร่วมมือตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาสังคมศึกษาของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบร่วมมือระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3) ศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบร่วมมือ 4) ศึกษาพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบร่วมมือ

กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนธาตุนารายณ์วิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 1 จำนวน 48 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) แบบแผนการวิจัยใช้แบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนเรียน–หลังเรียน (One Group Pretest–Posttest Design) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบร่วมมือ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบสอบถามความพึงพอใจ แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม และแบบบันทึกการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test (Dependent Samples)

ผลการวิจัยพบว่า

1. แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาสังคมศึกษาโดยใช้รูปแบบการเรียนแบบร่วมมือมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 82.46/83.07 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด

2. นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบร่วมมือ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาสังคมศึกษา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบร่วมมือมีความพึงพอใจต่อการเรียน แบบร่วมมืออยู่ในระดับมาก

4. นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบร่วมมือมีพฤติกรรมการทำงานกลุ่มอยู่ในระดับมาก

Abstract

The purposes of this research were: 1) to investigate the characteristics and the components of the efficiency of the learning plans of the Social Studies course by using cooperative learning on the basis of the established efficiency criteria of 80/80, 2) to compare the students’ achievements gained before and after they had learnt through the developed learning plans of the Social Studies by using cooperative learning, 3) to examine the students’ satisfaction of the learning activities which were developed by using cooperative learning, 4) to study the students’ group work behaviors while they were learning through the activities created by using cooperative learning.

Selected by random sampling technique, the students were 48 Mathayom Suksa 4 Students who were enrolling in the first semester of the academic year 2010 at Thatnaraiwithaya School under the Office of Sakon Nakhon Educational Service Area 1. The One Group Pretest Posttest Design was utilized in this study. The instruments used included the learning plans constructed by using cooperative learning, an achievement test, the questionnaire to measure the students’ satisfaction, the observation form used to record the students’ group work behaviors, and the learning form. The statistics used to analyze the data were percentage, mean, standard deviation and t-test (Dependent Samples).

The study revealed the following results:

1. The learning plans constructed by using cooperative learning contained the efficiency of 82.46/83.07 which was higher than the set criteria.

2. After the students had learnt through the instructional activities created by using cooperative learning, their achievement was statistically higher than that of before at .01 level of significance.

3. The students who had learnt through the developed learning plans using cooperative learning had their satisfaction of these instructional activities included in the plans at the high level.

4. The students who had learnt through the developed learning plans using cooperative learning had their group work behaviors at the high level.


ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 52

วันนี้: 0

เมื่อวานนี้: 1,515

จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,504

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033