...
...
เผยแพร่: 31 ส.ค. 2554
หน้า: 33-39
ประเภท: บทความวิจัย
View: 458
Download: 164
Download PDF
การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษา และพลศึกษา เรื่องการเคลื่อนไหวด้วยท่ารำโย้ยกลองเลง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนอากาศอำนวยศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 3
Development of the School Curriculum in Learning Substance of Health and Physical Education on “Moving with Yoi Klong Leng Dance” for Mathayom Suksa 1 of Akat Amnuay Suksa School under the Office of Sakon Nakhon Educational Area 3
ผู้แต่ง
สาธกา ศรีธนะ, กาญจนา วงษ์สวัสดิ์, สุจิตรา แบบประเสริฐ
Author
Sataka Sritana, Kanjana Vongsawat, Sujittra Baebprasert

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายคือ 1) เพื่อพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่องการเคลื่อนไหวด้วยท่ารำโย้ยกลองเลง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนอากาศอำนวยศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 3 2) เพื่อประเมินผลหลักสูตรสถานศึกษาที่ได้พัฒนาขึ้น โดย 2.1) ตรวจสอบประสิทธิภาพของหลักสูตรสถานศึกษา ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 2.2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษาที่ได้พัฒนาขึ้น 2.3) ศึกษาทักษะการปฏิบัติของนักเรียนที่เรียนตามหลักสูตรสถานศึกษาที่ได้พัฒนาขึ้น และ 2.4) ศึกษาเจตคติที่มีต่อการเรียนของนักเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษาที่พัฒนาขึ้น

การพัฒนาหลักสูตรประกอบด้วยขั้นตอน ดังนี้ 1) ศึกษาและสำรวจข้อมูลพื้นฐาน 2) พัฒนาหลักสูตร 3) ทดลองใช้หลักสูตร 4) ประเมินและปรับปรุงหลักสูตร

ผลการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่องการเคลื่อนไหวด้วยท่ารำโย้ย กลองเลง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนอากาศอำนวยศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 3 สรุปได้ดังนี้

1. ผลการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่องการเคลื่อนไหวด้วยท่ารำโย้ยกลองเลง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนอากาศอำนวยศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 3 โดยผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ตรวจสอบความถูกต้อง และประเมินความเหมาะสมของหลักสูตรและเอกสารประกอบหลักสูตรที่พัฒนาขึ้น พบว่ามีความเหมาะสมสามารถนำไปใช้ได้

2. ผลการใช้หลักสูตรสถานศึกษาที่พัฒนาขึ้นพบว่า

2.1 หลักสูตรสถานศึกษามีประสิทธิภาพ 91.57/89.81 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ 80.00/80.00

2.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ผ่านการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษาที่พัฒนาขึ้นหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

2.3 ทักษะการปฏิบัติของนักเรียนที่ได้เรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษาที่พัฒนาขึ้นอยู่ในระดับร้อยละ 91.00 ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่กำหนด คือ ร้อยละ 80.00

2.4 เจตคติต่อการเรียนของนักเรียนที่ผ่านการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษาที่พัฒนาขึ้นอยู่ในระดับมาก

Abstract

The purposes of this research were : 1) to develop the school curriculum in learning substance of Health and Physical Education on “Moving with Yoi Klong Leng Dance” for Mathayom Suksa 1 of Akat Amnuay Suksa School under the Office of Sakon Nakhon Educational Area 3, 2) to evaluate the curriculum developed by 2.1) exploring the efficiency of the curriculum on the criterion 0f 80/80, 2.2) comparing learning achievement of students learning through this curriculum, 2.3) investigating practical skills of students learning through this curriculum, and 2.4) identifying attitudes of students learning through this curriculum.

The research procedure was proceeded under the process of curriculum development procedure as follows : 1) studying and surveying fundamental data, 2) developing curriculum, 3) implementing curriculum, and 4) evaluating and improving curriculum.

The results of this research were:

1. The development of the school curriculum in learning substance of Health and Physical Education on “Moving with Yoi Klong Leng Dance” for Mathayom Suksa 1 of Akat Amnuay Suksa School under the Office of Sakon Nakhon Educational Area 3, evaluated by the experts, revealed that the curriculum and supplementary materials were appropriate to be used.

2. The efficiency of applying the developed school curriculum were found as follows:

2.1 The efficiency of the developed curriculum was 91.57 which was higher than the set criterion of 80/80.

2.2 The students’ learning achievement scores were higher than that before the treatment by this curriculum with the significant difference at the .01 level.

2.3 The students’ practical skills after learning through the developed curriculum was 91.00 percent which was higher than the set criterion of 80.00 percent.

2.4 The students’ attitudes towards learning with the developed curriculum was at the high level.


ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 6

วันนี้: 226

เมื่อวานนี้: 639

จำนวนครั้งการเข้าชม: 789,798

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033