...
...
เผยแพร่: 10 ม.ค. 2562
หน้า: 17-23
ประเภท: บทความวิจัย
View: 265
Download: 131
Download PDF
การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้แบบบูรณาการสำหรับครูผู้ดูแลเด็ก ในเขตพื้นที่ภาคกลางตะวันตก : กรณีศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลวัดประดู่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
School Curriculum Development to Enhance Integrated Learning Experience Ability for Child Care Teachers in the Western Region of Thailand : Case Study of Child Development Center in Wat Pradu Subdistrict Administration Organization, Amphawa District, Sam
ผู้แต่ง
รัตนวรรณ ลิมวัฒนาสมุทร, จำรัส อินทลาภาพร
Author
Rattanawan Limwattanasamut, Chamras Intalapaporn

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) พัฒนาความสามารถของครูผู้ดูแลเด็กในการสร้างหลักสูตรสถานศึกษา และ 2) ศึกษาความสามารถในการจัดประสบการณ์การเรียนรูแบบบูรณาการของครูผู้ดูแลเด็กในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลุ่มเป้าหมายเป็นครูผู้ดูแลเด็ก จำนวน 3 คน ที่ได้จากการเลือกแบบเจาะจงในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลวัดประดู่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ที่สอนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์นายกองค์การบริหารส่วนตำบลและครูผู้ดูแลเด็ก 2) แบบประเมินความสามารถในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง 0.80-1.00 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.85 3) แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจ เรื่อง หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 และการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการสำหรับเด็กปฐมวัย มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.60-1.00 ค่าอำนาจจำแนก 0.25-0.64 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.82 4) แบบประเมินความพึงพอใจของครูผู้ดูแลเด็กต่อหลักสูตรฝึกอบรมที่พัฒนาขึ้น มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.75 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติวิลคอกซัน

ผลการวิจัยพบว่า

1. หลักสูตรสถานศึกษาระดับปฐมวัยที่ครูพัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 1) ปรัชญาการศึกษาปฐมวัย 2) วิสัยทัศน์ 3) พันธกิจ 4) เป้าหมาย 5) มาตรฐานคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 6) สาระการเรียนรู้ 7) โครงสร้างเวลาเรียน 8) การบริหารจัดการหลักสูตร 9) การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ 10) สื่อและแหล่งเรียนรู้ และ 11) การประเมินพัฒนาการ เป็นหลักสูตรที่สอดคล้องกับบริบทของชุมชนและความต้องการของครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลวัดประดู่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม

2. ความสามารถในการจัดประสบการณ์การเรียนรูแบบบูรณาการของครูผู้ดูแลเด็ก ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านหลักสูตร 2) ด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 3) ด้านการวัดและประเมินพัฒนาการผู้เรียน และ 4) ด้านการสะท้อนผลการเรียนรู้ ซึ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนมีพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน คือ 1) ด้านร่างกาย 2) ด้านอารมณ์-จิตใจ 3) ด้านสังคม และ 4) ด้านสติปัญญา

Abstract

The objectives of this research were 1) to develop ability on school curriculum development of Child Care Teachers and 2) to study integrated learning experience ability of Child Care Teachers in Local Administrative Organization. Sample group was three child care teachers who were selected by Purposive Sampling and teach in Child Development Center in Wat Pradu Subdistrict Administration Organization, Amphawa District, Samut Songkhram Province in the first semester in academic year 2018. Research instruments consist of 1) interview form for the Chief Executive of the Subdistrict Administrative Organization and child care teachers, 2) evaluate form on the ability integrated learning management with index of consistency between 0.80-1.00, reliability at 0.85, 3) test of Early Childhood Curriculum in year 2017 and integrated learning experiences for child care teachers (with index of consistency between 0.60-1.00, discrimination from 0.25 to 0.64, and reliability at 0.82) and 4) the satisfaction evaluation form for child care teachers with reliability at 0.75. The statistics used included were the mean, standard deviation and Wilcoxon signed rank test.

The findings were shown as follow:

1. The Early Childhood school curriculum consists of 1) philosophy, 2) vision, 3) mission, 4) goal, 5) standard desirable characteristics, 6) learning standard, 7) structure of learning time, 8) curriculum administration, 9) learning experience, 10) media and learning resource and 11) assessment development skills. This Curriculum corresponds with context and demand of the Child Care Teachers in Child Development Center of the Wat Pradu Subdistrict Administration Organization, Amphawa District, Samut Songkhram Province.

2. School Curriculum enhance ability of the integrated learning management for the Child Care Teachers who comprises of abilities four : 1) curriculum capacity, 2) learning  experience management capacity with emphasis on child-centered, 3) measurement and assessment capacity development skills for early childhood and 4) learning outcome reflection capacity which support four developments such as 1) physical development, 2) emotional and mental development, 3) social development and 4) intellectual development.

คำสำคัญ

หลักสูตรสถานศึกษา, ความสามารถในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการ, ครูผู้ดูแลเด็ก

Keyword

School Curriculum, Integrated Learning Management Ability, Child Care Teachers
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 4

วันนี้: 21

เมื่อวานนี้: 652

จำนวนครั้งการเข้าชม: 771,626

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033