บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาชุดการเรียนการสอนโดยบูรณาการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี หน่วยการเรียนรู้ การปลูกไม้ดอกไม้ประดับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2) เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดการเรียนการสอนโดยบูรณาการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี หน่วยการเรียนรู้ การปลูกไม้ดอกไม้ประดับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยชุดการเรียนการสอนโดยบูรณาการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี หน่วยการเรียนรู้ การปลูกไม้ดอกไม้ประดับ 4) เพื่อเปรียบเทียบความตระหนักในความพอเพียงของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดการเรียนการสอน โดยบูรณาการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี หน่วยการเรียนรู้ การปลูกไม้ดอกไม้ประดับ และ 5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดการเรียนการสอนโดยบูรณาการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี หน่วยการเรียนรู้การปลูกไม้ดอกไม้ประดับ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้มาโดยการเลือกแบบกลุ่ม เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนอนุบาลสกลนคร จำนวน 46 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองครั้งนี้ คือ 1) ชุดการเรียนการสอนโดยบูรณาการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี หน่วยการเรียนรู้ การปลูกไม้ดอกไม้ประดับ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบวัดความตระหนักในความพอเพียง และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่การทดสอบค่าที (t-test) ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ชุดการเรียนการสอนโดยบูรณาการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี หน่วยการเรียนรู้ การปลูกไม้ดอกไม้ประดับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 87.42/86.91
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความตระหนักในความพอเพียงหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อชุดการเรียนการสอนโดยบูรณาการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี หน่วยการเรียนรู้ การปลูกไม้ดอกไม้ประดับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด คือ มีคะแนนเฉลี่ย 4.61
Abstract
The purposes of this research were 1) to develop learning packages by integrating the Sufficiency Economy Philosophy with the subject area of vacation and Technology for the learning unit on Growing Flowering and Ornamental Plants for Prathom Suksa 4 2) to investigate the efficiency of the learning packages by integrating the Sufficiency Economy Philosophy with the subject area of Vocation and Technology for the learning unit on Growing Flowing and Ornamental Plants for Pratom Suksa 4 on the basic of 80/80, 3) to compare the students learning achievements between before and after learning through the developed learning packages, 4) to compare the students awareness about Sufficiency Economy Philosophy between before and after learning through the developed learning packages and, 5) to study the students’ satisfaction of learning through the developed learning packages. The sample group was 46 students in Prathom 4/6 at Sakon Nakhon Kindergarten School in the first semester of academic year 2009.
The instruments used for gathering information of this research were 1) the learning packages integrated by the Sufficiency Economy Philosophy with the subject area of vocation and Technology for the learning unit on Growing Flowering and Ornamental Plants, 2) a learning achievement test, 3) a test of awareness about sufficiency, and 4) a questionnaire of satisfaction. The data was statistically analyses by t-test, percentage, mean and standard deviation.
The result of the research were:
1. The efficiency of developed learning package was 87.42/86.91.
2. The students’ learning achievement scores after learning through the developed learning packages was higher than before learning at the .01 level of significance.
3. The awareness of Sufficiency Economy philosophy after using the learning packages was higher than before using the learning packages significantly at 01 level.
4. The students were satisfied with learning by using all the seven learning packages at the highest level. The average satisfaction score was 4.61.
กำลังออนไลน์: 31
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 1,605
จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,594
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033