บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การปฏิบัติเครื่องดนตรีในวงโปงลางเบื้องต้นสำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 ชุมนุมดนตรีพื้นบ้าน (วงโปงลาง) ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบความรู้ ความเข้าใจในการปฏิบัติเครื่องดนตรีในวงโปงลางของนักเรียนก่อน และหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การปฏิบัติเครื่องดนตรีในวงโปงลางเบื้องต้น สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 ชุมนุมดนตรีพื้นบ้าน (วงโปงลาง) และ 3) ศึกษาทักษะการปฏิบัติเครื่องดนตรีในวงโปงลาง สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 ชุมนุมดนตรีพื้นบ้าน (วงโปงลาง) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ เป็นนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 ชุมนุมดนตรีพื้นบ้าน (วงโปงลาง) กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โรงเรียนธาตุพนม จังหวัดนครพนม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 1 ที่เรียนวิชาดนตรีพื้นบ้านอีสาน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 20 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) การวิจัยในครั้งนี้ใช้แบบแผนการวิจัยแบบ One Group Pretest-Posttest Design สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ t-test ชนิด Dependent Samples
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83/85
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการเรียนสูงกว่าก่อนเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ทักษะปฏิบัติเครื่องดนตรีโปงลางของนักเรียนอยู่ในระดับ ดี
Abstract
The purposes of this research were: 1) to develop the Learning Packages on the Materials Music Pratise for the Third Levels Students Participation in Folk Music Group (Pong-Long) with effectiveness set at 80/80, 2) to compare the knowledge and understanding on materials music in Folk music (Pong-Lang) of the students before and after using this packages and 3) to study of materials music practise in Pong-Long befor and after using this packages. The subjects were 20 of the third levels students participation in folk music group (Pong-Long) of Thatphanom School in the second semester of academic year 2010. They were selected by using purposive sampling. The design of this study was One Group Pretest-Posttest Design. The data were analyzed by using dependent samples t-test.
The results of this study were as follows:
1. The Learning Packages on the Materials Music Pratise for the Third Levels students participation in Folk Music Group (Pong-Long) obtained the efficiency of 83/85 which was higher than the criterion of 80/80.
2. The posttest average scores of the knowledge and understanding on materials music in Folk music (Pong-Long) were higher than those of their pretest at the .01 level of significance.
3. The posttest average scores of materials music practise in Pong-Long were higher than those of their pretest at the .01 level of significance.
กำลังออนไลน์: 37
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 1,286
จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,275
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033