...
...
เผยแพร่: 5 ก.ย. 2561
หน้า: 57-65
ประเภท: บทความวิจัย
View: 310
Download: 220
Download PDF
การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้กลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัส ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
The Development of Learning Activities Based on Cooperative Learning with STAD Approach to Enhance Ability on Analytical Thinking and Achievement Motivation, Entitled the Topic of the Theory of Pythagoras for Mattayomsuksa 2 Students
ผู้แต่ง
เนตรกนก วิทยเจียกขจร, นิราศ จันทรจิตร, สฤษดิ์ ศรีขาว
Author
Netganok Wittayajeakkajorn, Nirat Chantharachit, Sarit Srikhao

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้กลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัส ของนักเรียนระดับ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามเกณฑ์ 75/75 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เปรียบเทียบการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และ 4) ศึกษาแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนชุมชนเทศบาล ๓ (พินิจพิทยานุสรณ์) สังกัดเทศบาลเมืองนครพนม จำนวน 33 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 4 ชนิด ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้, แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, แบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และแบบวัดแรงจูงใจใฝ่เรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐาน ด้วยสถิติ Paired Samples t–test

ผลการวิจัยพบว่า

1. ประสิทธิภาพของกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ โดยใช้กลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัส ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีค่าเท่ากับ 79.44/80.61

2. นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีทักษะการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

4. นักเรียนมีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ต่อการเรียนด้วยกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (\bar{X} = 3.80, S.D. = 0.68)

Abstract

This research aims were to 1) find out the efficiency of learning activities by using Student Team Achievement Division (STAD) approach to enhance the abilities in anlytical thinking and achievement motivation in mathematics, titled “Pythagoras’ Theorem” of Mattayomsuksa 2 students, the criteria was at 75/75, 2) compare the students’ learning achievement between the pretest and the posttest score, the learning activies, 3) compare the students’ critical thinking between the pretest and the posttest scores, and 4) study the students’ after studical by using the learning activities achievement motivation. The sample was 33 Mattayomsuksa 2 students, the second semester, education year 2017 of ChumchonThetsaban 3 (PhinitPhitthayanuson) school, under Muang Nakhon Phanom Municipal by Cluster random sampling. There were 4 types of research tools; learning management plans, an achievement test, an analytical thinking test, an achievement motivation scale. Statistics used in data analysis were percentage, mean, standard deviation, and hypothesis testing by Paired Samples t-test.

The result of this research found that:

1. The efficiency of learning activities by using Student Team Achievement Division (STAD), strengthened the ability in analysis and achievement motivation, titled “Pythagoras’ Theorem” of Mattayomsuksa 2 students, was at 79.44/80.61.

2. The students who studied by the learning activities, the learning achievement after learning was higher than before at .01 level of significance.

3. The students who studied by the learning activities, after learning was higher than before at .01 level of significance.

4. The students had achievement motivation towards learning by the learning activities overall was at a high level (\bar{X} = 3.80, S.D. = 0.68).

คำสำคัญ

การเรียนรู้แบบร่วมมือ, เทคนิค STAD, การคิดวิเคราะห์, แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์

Keyword

Cooperative learning, STAD, Analytical hinking, Achievement motivation
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 18

วันนี้: 865

เมื่อวานนี้: 1,300

จำนวนครั้งการเข้าชม: 971,900

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033