...
...
เผยแพร่: 31 ธ.ค. 2554
หน้า: 185-190
ประเภท: บทความวิจัย
View: 139
Download: 98
Download PDF
การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมโดยใช้หลักการสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ เพื่อเสริมสร้างความสามารถทางการคิดแบบโยนิโสมนสิการ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
Development of a Training Program by Using Faith and Yonisomanasikan for Enhancing Yonisomanasikan Thinking Ability of Mathayom Suksa 6 Students
ผู้แต่ง
พระจำรัส ชวนปญญโญ, ภูมิพงศ์ จอมหงส์พิพัฒน์, สำราญ กำจัดภัย
Author
Pra Jamrat Chuanpanayo, Bhumbhong Jomhongbhibhat, Sumran Kamjadpai

บทคัดย่อ

ในการวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายของการวิจัยเพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการฝึกอบรมโดยใช้หลักการสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ เพื่อเสริมสร้างความสามารถทางการคิดแบบโยนิโสมนสิการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 2) ศึกษาความสามารถทางการคิดแบบโยนิโสมนสิการ ก่อนและหลังการฝึกอบรม และ 3) ศึกษาความพึงพอใจต่อรูปแบบการฝึกอบรมโดยใช้หลักการสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ เพื่อเสริมสร้างความสามารถทางการคิดแบบโยนิโสมนสิการ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนธาตุพนม จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 35 คน และการเลือกตัวอย่างใช้การสุ่มเลือกแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ในการวิจัยครั้งนี้ ใช้แบบแผนการวิจัยแบบ One Group Pretest-Posttest Design สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมุติฐาน ได้แก่ t-test ชนิด Dependent Samples

ผลการวิจัย พบว่า

1. ความสามารถทางการคิดแบบโยนิโสมนสิการของนักเรียนก่อนเข้ารับการอบรมและหลังเข้ารับการอบรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

2. ความพึงพอใจของนักเรียนต่อโปรแกรมการฝึกอบรมโดยใช้หลักการสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ เพื่อเสริมสร้างความสามารถทางการคิดแบบโยนิโสมนสิการอยู่ในระดับมาก

Abstract

The purposes of this research were: 1) to develop a Training Program by using Faith and Yoniso manasikan for Enhacing Yonisomanasikan Thinking Ability of Mathayom Suksa 6 students, 2) to study the Yonisomanasikan thinking ability before and after using the training program and, 3) to study the satisfaction toward a training program of students. The subjects were 35 Mathayom suksa 6 students of Thatpranom school in the second semester of academic year 2010. They were selected by using cluster random sampling. The design of this study was One Group Pretest-Posttest Design. The data were analyzed by using dependent Samples t-test.

The results of this study were as follows:

1. The posttest for the ability of Yonisomanasikan thinking ability was significantly higher than the pretest at the .01 level.

2. The satisfaction of students for learning with the Traning Program by using Faith and Yonisomanasikan for Enhancing Yonisomanasikan Thinking ability was at a higher level.


ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 12

วันนี้: 165

เมื่อวานนี้: 833

จำนวนครั้งการเข้าชม: 794,998

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033