บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 5 ระหว่างก่อนและหลังเรียนโดยใช้การสอนแบบพุทธวิธี และ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างก่อนและหลังเรียนโดยใช้การสอนแบบพุทธวิธี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3 จำนวน 46 คน ของโรงเรียนเรณูนครวิทยานุกูล อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบเป็นกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ในการวิจัยครั้งนี้ ใช้แบบแผนการวิจัยแบบ One Group Pretest–Posttest Design สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ t–test ชนิด Dependent Samples
ผลการวิจัย พบว่า
1. ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียน หลังจากที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนแบบพุทธวิธี หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และหลังเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน หลังจากที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนแบบพุทธวิธี หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และหลังเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80
นอกจากนี้ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ พบว่า นักเรียนมีการพัฒนากระบวนการคิดแก้ปัญหา กระบวนการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง การมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม และการทำงานกลุ่มร่วมกัน
Abstract
The purposes of this research were : 1) to compare the ability of problem solving of Mathayom Suksa 5 students through pretest and posttest using Buddha’s way of Instruction and 2) to compare the achievement of Mattayom Suksa 5 students before and after using Buddha’s way of Instruction. The subjects were 46 Mathayom Suksa 5/3 students of Renunakhonwittayanukul School in the first semester of academic year 2008. They were selected by using cluster random sampling. The design of this study was One Group Pretest–Posttest Design. The data were analyzed by using dependent samples t-test.
The results of this study were as follows:
1. The posttest for the ability to problem solving t using Buddha’s way of Instruction was significantly higher than the pretest at the .01 level and higher than the set criterion of 70 percent.
2. The posttest achievement using Buddha’s way of Instruction was significantly higher than the pretest at the .01 level and higher than the set criterion of 80 percent.
In addition, the result of qualitative analysis showed that students developed their problem solving ability, self study ability, social interaction and participation.
กำลังออนไลน์: 51
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 1,355
จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,344
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033