บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระดนตรี เรื่อง ดนตรีพื้นเมืองโปงลาง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนมัธยมวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร 2) ประเมินผลหลักสูตรสถานศึกษาที่พัฒนาขึ้นตามเกณฑ์ ประสิทธิภาพ 80/80 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้เรียนด้วยหลักสูตรสถานศึกษา เรื่อง ดนตรีพื้นเมืองโปงลาง ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 4) ศึกษาเจตคติต่อการเรียนโดยใช้หลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระดนตรี เรื่อง ดนตรีพื้นเมืองโปงลาง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนมัธยมวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร จำนวน 37 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามด้านความต้องการในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา หลักสูตรสถานศึกษา เรื่อง ดนตรีพื้นเมืองโปงลาง แผนการจัดการเรียนรู้หลักสูตรสถานศึกษา เรื่อง ดนตรีพื้นเมืองโปงลาง จำนวน 10 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ แบบวัดเจตคติต่อการเรียนหลักสูตรสถานศึกษา แบบแผนการวิจัยใช้แบบ One Group Pretest–Posttest Design สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย () ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และ t-test ชนิด Dependent Samples
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการประเมินความเหมาะสมของหลักสูตรสถานศึกษา เรื่อง ดนตรีพื้นเมืองโปงลาง ตลอดจนคู่มือการใช้หลักสูตรเอกสารประกอบหลักสูตรสถานศึกษา เรื่อง ดนตรีพื้นเมืองโปงลาง ที่พัฒนาขึ้น มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
2. ผลการหาประสิทธิภาพของหลักสูตรสถานศึกษา เรื่อง ดนตรีพื้นเมืองโปงลาง ประสิทธิภาพของกระบวนการและประสิทธิภาพของผลลัพธ์ E1/E2 เท่ากับ 83.38/81.71 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ 80/80
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนโดยใช้หลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระดนตรี เรื่อง ดนตรีพื้นเมืองโปงลาง หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ผลการวัดเจตคติหลังเรียนโดยใช้หลักสูตรสถานศึกษา เรื่อง ดนตรีพื้นเมืองโปงลาง พบว่า นักเรียนมีเจตคติทางบวกต่อการเรียนในระดับมาก ( = 4.46)
Abstract
The purposes of this study were: 1) to develop the school curriculum of the musical substance group entitled “Ponglang (Xylophone) – the Folk Musical Instrument” for Mathayom Suksa 1, of Mathayom Wanon Niwat School, Wanon Niwat District, Sakon Nakhon Province, 2) to evaluate the developed school curriculum on the basis of the efficiency criteria of 80/80, 3) to compare the students’ achievements gained before and after they had learnt through the school curriculum entitled “Ponglang (Xylophone) – the Folk Musical Instrument”, 4) to investigate the students’ attitude toward the learning through the school curriculum entitled “Ponglang (Xylophone) – the Folk Musical Instrument”.
Purposively selected, the subjects used in this study consisted of 37 Mathayom Suksa 1 students of classroom 1/3 who enrolled in the second semester of 2010 academic year at Mathayom Wanon Niwat School, Sakon Nakhon Province. The instruments used were the questionnaire to survey the demands for the production of the school; 10 learning plans for the school curriculum entitled “Ponglang (Xylophone) – the Folk Musical Instrument”; 30 item – achievement test; and the questionnaire to measure to measure the students’ attitude learning through the school curriculum. One Group Pretest–Posttest Design was adopted in this study. The statistics used for data analysis were t–test (Dependent Samples) and mean.
The study found the following results:
1. The evaluation of the developed school curriculum entitled “Ponglang (Xylophone) – the Folk Musical Instrument”, together with its handbook, had its suitability at the high level.
2. The efficiency of the school curriculum entitled “Ponglang (Xylophone) – the Folk Musical Instrument” was 83.38/81.71 which was higher than the set criteria of 80/80.
3. A after the students had learnt through the school curriculum entitled “Ponglang (Xylophone) – the Folk Musical Instrument”, their achievement was statistically higher than that of before at .01 level of significance.
4. After the students had learnt through the school curriculum entitled “Ponglang (Xylophone) – the Folk Musical Instrument”, their positive attitude toward learning was at the good level ( = 4.46).
กำลังออนไลน์: 41
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 1,460
จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,449
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033