...
...
เผยแพร่: 31 ธ.ค. 2554
หน้า: 107-113
ประเภท: บทความวิจัย
View: 204
Download: 81
Download PDF
ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบไตรสิกขา เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่มีต่อความสามารถในการคิดแก้ปัญหา และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
Effects of Using Tri-Sikha Instructional Model on Problem Solving Ability and Learning Achievement of Mathayom Ssuksa 2 Students
ผู้แต่ง
ฤดีภรณ์ อินทรเทศ, ภูมิพงศ์ จอมหงษ์พิพัฒน์, ประยูร บุญใช้
Author
Rudeeporn Intharathet, Bhumbhong Jomhongbhibhat, Prayoon Boonchai

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบไตรสิกขา เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ที่มีต่อความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบไตรสิกขาเรื่องหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/8 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนเรณูนครวิทยานุกูล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 จำนวน 47 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยเป็นการสุ่มตัวอย่างจากประชากร  ที่อยู่รวมกันเป็นห้องเรียน ภายในห้องเรียนเดียวกันประกอบด้วยนักเรียนที่คละความสามารถทางการเรียน และลักษณะประชากรในแต่ละห้องเรียนมีความคล้ายคลึงกัน ในการวิจัยครั้งนี้ใช้แบบแผนการวิจัยแบบ One Group Pretest–Posttest Design สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ t–test ชนิด Dependent Samples

ผลการวิจัย พบว่า

1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน หลังจากที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบไตรสิกขาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

2. ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียน หลังที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบไตรสิกขาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

นอกจากนี้ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ พบว่า นักเรียนมีการพัฒนากระบวนการคิดแก้ปัญหา กระบวนการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รู้จักการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม และการทำงานกลุ่มร่วมกัน

Abstract

The purposes of this research were: 1) to study the effects of using Tri-Sikha instructional model on problem solving ability of Mathayom Suksa 2 Students 2) to study the effects of using the developed instructional model on the students’ learning achievement. The subjects of this study were 47 Matthayom Suksa 2 students in the second semester of the academic year 2010 at Renunakhonwittayanukul School the Secondary Educational Service Area 22 using cluster random sampling. The research was one group pretest-posttest design. The statistics used in data analysis were t-test (Dependent Samples).

The results of the research were as follows:

1. The problem solving ability of Matthayom Suksa 2 students learned through the activity using Tri-Sikha instructional model was higher than that before learning at the .01 level of significance.

2. The students’ learning achievement after learning through the developed instructional activities was significantly higher than before at the level of .01.

In addition, the result of qualitative analysis showed that students developed their problem solving ability, self study ability, social interaction and participation.


ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 5

วันนี้: 202

เมื่อวานนี้: 833

จำนวนครั้งการเข้าชม: 795,035

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033