...
...
เผยแพร่: 31 ธ.ค. 2554
หน้า: 85-91
ประเภท: บทความวิจัย
View: 189
Download: 216
Download PDF
การพัฒนาชุดกิจกรรมเสริมสร้างทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเรณูวิทยาคาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 1
Development of the Activities Packages to Enhancing Scientific Process Skills for Prathom Suksa 6 Students at Renuwittayakarn School under the Office of Nakhon Phanom Educational Service Area 1
ผู้แต่ง
วิลาวัลย์ เจตินัย, ถาดทอง ปานศุภวัชร
Author
Wilawan Chetinai, Thadthong Pansuppawat

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความประสงค์เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมเสริมสร้างทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 2) เปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ 4) เปรียบเทียบเจตคติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมเสริมสร้างทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียน ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเรณูวิทยาคาร อำเภอเรณูนคร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 จำนวน 75 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเรณูวิทยาคาร อำเภอเรณูนคร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 จำนวน 36 คน โดยการสุ่มแบบเป็นกลุ่ม (Cluster Sampling) แบบแผนการวิจัยเชิงทดลองกลุ่มเดียว ทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ชุดกิจกรรมเสริมสร้างทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ แบบวัดเจตคติทางวิทยาศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และการทดสอบค่าที (t-test) ชนิด Dependent Samples

ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้

1. ชุดกิจกรรมเสริมสร้างทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพ 82.67/82.12 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ 80/80 

2. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่ใช้ชุดกิจกรรมเสริมสร้างทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หลังสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่ใช้ชุดกิจกรรมเสริมสร้างทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

4. เจตคติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่ใช้ชุดกิจกรรมเสริมสร้างทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Abstract

The purposes of this research were : 1) to discover the efficiency of the activity packages to enhance scientific process skills, 2) to compare the students’ scientific process skills, 3) to compare the students’ scientific achievements, and 4) to compare the students’ scientific attitudes gained before and after they had learnt through the activity packages. The population include 75 Prathom Suksa 6 students who were studying in the first semester of 2010 academic year at By using cluster sampling technique, the subjects were 36 Prathom Suksa 6 students who were studying in the first semester of 2010 academic year at Renuwittayakarn School under the Office of Nakhon Phanom Educational Service Area 1. One group pretests-posttest design was adopted for this research. The instruments consisted of the activity packages to enhance scientific process skills, the form to measure the students’ scientific process skills, scientific achievement test, and the questionnaire to survey the students’ scientific attitudes. The statistics used for data analysis comprised mean, percentage, and t-test (Dependent Samples).

The results were as follows:

1. The efficiency of the activity packages to enhance scientific process skills was 82.67/82.12 which was higher than the set criteria of 80/80.    

2. After the students had learnt through the activity packages, their scientific process skills were statistically higher than those of before at .01 level of significance.

3. After the students had learnt through the activity packages, their scientific achievement was statistically higher than that of before at .01 level of significance.

4. After the students had learnt through the activity packages, their scientific attitude was statistically higher than that of before at .01 level of significance.


ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 53

วันนี้: 0

เมื่อวานนี้: 1,449

จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,438

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033