...
...
เผยแพร่: 31 ธ.ค. 2554
หน้า: 61-66
ประเภท: บทความวิจัย
View: 573
Download: 135
Download PDF
การพัฒนาความพร้อมของเด็กปฐมวัยโดยการจัดประสบการณ์ ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา
Development of Readiness for Early Childhood by the Organizing Experiences Applying Theory of Multiple Intelligences
ผู้แต่ง
พิสมัย พาดี, ศิริศักดิ์ จันฤาไชย, วิโรจน์ มุทุกันต์
Author
Pissamai Pardee, Sirisak Chanreuchai, Wiroat Mutugun

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญาและแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามปกติ ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 90/90 2) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญาและแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามปกติ 3) เปรียบเทียบพัฒนาการด้านร่างกาย ด้านอารมณ์-จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา ระหว่างก่อนและหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ และ 4) เปรียบเทียบความพร้อมทางสติปัญญาพัฒนาการด้านร่างกาย ด้านอารมณ์-จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา กับกลุ่มที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนที่กำลังเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนท่าแร่วิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 จาก 2 ห้องเรียน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แผนการจัดประสบการณ์ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา และแผนการจัดประสบการณ์ตามปกติ แบบประเมินพัฒนาการทางด้านร่างกาย ด้านอารมณ์-จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา แบบวัดความพร้อมทางสติปัญญา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานใช้สถิติ t-test (Dependent Samples) และ Hotelling T2 ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา และแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามปกติ ชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 98.16/96.67 และ 93.63/90.22 ตามลำดับ 2) ดัชนีประสิทธิผล ของแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญาและแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามปกติ เท่ากับ 0.9393 และ 0.8240 ตามลำดับ 3) นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา และการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามปกติ มีพัฒนาการด้านร่างกาย ด้านอารมณ์-จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4) นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่เรียนด้วยการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา มีความพร้อมทางสติปัญญา พัฒนาการด้านร่างกาย ด้านอารมณ์-จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญาหลังเรียน สูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  (p\leqslant0.010)

Abstract

The purposes of this study were (1) to develop the plans of learning experience organization  based on the multiple intelligences theory and the conventional approach for the level 2 kindergarten  students with a required efficiency of 90/90, (2) to find out effectiveness indices of these two developed learning experience plans, (3) to compare the physical, emotional, social, and intellectual  developments of the students between before and after using of the two mentioned approaches, and  (4) to compare the intellectual readiness, and physical, emotional, social, and intellectual developments  of the students who learned using different learning experience approaches. The sample used in this  study consisted of 2 groups of the level 2 kindergarten students attending Tharea Wittaya School,  Tharea District, under the Office of Sakon Nakon Primary Educational Service Area Zone 1 Sakon Nakhon Province, who were selected by the cluster random sampling technique. The instruments used  for the study comprised of 2 types of learning experience plans as mentioned, 8 plans each ; a 20-item scales of physical, emotional, social, and intellectual assessment forms with a two observers’ reliability of 0.83 ; a 15-item scales of intellectual readiness with difficulties ranging 0.38-0.75,  discriminating powers ranging 0.22-0.70 and a reliability of 0.89. The statistics used for analyzing data  were percentage, mean, standard deviation, the paired t-test and Hotelling Trace were employed for testing hypotheses. The results of the study were as follows : 1. The plans of learning experience  organization based on the multiple intelligence theory and the conventional approach had efficiencies (E1/E2) of 98.16/96.67 and 93.63/90.22 respectively. 2. The plans of learning experience organization  based on the multiple intelligence theory and the conventional approach had the effectiveness indices of  .9393 and .8240 respectively. 3. The students who learned using the both of learning experience organizations showed gain in the physical, emotional, social, and intellectual developments from before  learning (p < .01). 4. The students who learned using learning experience organization based on the multiple intelligence theory had higher intellectual readiness, and physical, emotional, social, and intellectual developments than the students who learned using the conventional approach (p < .010).


ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 4

วันนี้: 351

เมื่อวานนี้: 833

จำนวนครั้งการเข้าชม: 795,184

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033