...
...
เผยแพร่: 5 ก.ย. 2561
หน้า: 15-29
ประเภท: บทความวิจัย
View: 228
Download: 119
Download PDF
การพัฒนาคู่มือการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับ การใช้สมองเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างการคิดวิเคราะห์ ความสามารถ ในการให้เหตุผล และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
Development of the Learning Manual by Constructivist Theory Together with Brain-based Learning in Order to Support Analytical Thinking, Ability in Giving Reason, and Learning Achievement in Mathematics of Pratomsuksa 6 students
ผู้แต่ง
อโนมา ทุพแหม่ง, มารศรี กลางประพันธ์, สมเกียรติ พละจิตต์
Author
Anoma Toopmang, Marasri Klangprapan, Somkiat Palajit

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาคู่มือการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการใช้สมองเป็นฐานที่ส่งผลต่อการคิดวิเคราะห์ ความสามารถในการให้เหตุผลและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ให้มีดัชนีประสิทธิผลตามเกณฑ์ร้อยละ 50 ขึ้นไป 2) เปรียบเทียบการคิดวิเคราะห์ ความสามารถในการให้เหตุผล และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ที่เรียนด้วยคู่มือการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการใช้สมองเป็นฐาน วิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างหลังเรียนและก่อนเรียน และ 3) เปรียบเทียบการคิดวิเคราะห์ ความสามารถในการให้เหตุผล และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่มีความฉลาดทางอารมณ์ สูง ปานกลาง และต่ำ ที่เรียนด้วยคู่มือการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการใช้สมองเป็นฐาน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ประชากรในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 ของศูนย์อำนวยการเครือข่ายนาแก้วบ้านแป้น จำนวน 11 โรงเรียน จำนวน 289 คน กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนบ้านนาเดื่อ ศูนย์อำนวยการเครือข่ายนาแก้วบ้านแป้น จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 19 คน ซึ่งได้มาจากเทคนิคการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้โรงเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 5 ชนิด ได้แก่ 1) คู่มือการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการใช้สมองเป็นฐาน 2) แบบวัดการคิดวิเคราะห์ 3) แบบวัดความสามารถในการให้เหตุผล 4) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 5) แบบสอบถามความฉลาดทางอารมณ์ของกรมสุขภาพจิต สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติทดสอบที (t-test แบบ Dependent Samples) ค่าประสิทธิภาพ (E.I.) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณแบบทางเดียว (One–way MANOVA)

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1. ดัชนีประสิทธิผลคู่มือการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการใช้สมองเป็นฐาน วิชาคณิตศาสตร์ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ส่งผลต่อการคิดวิเคราะห์ ความสามารถในการให้เหตุผล และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าร้อยละ 56.42, 57.53 และ 66.43 ตามลำดับ และค่าดัชนีประสิทธิผลรวมเท่ากับ ร้อยละ 60.13 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้

2. การคิดวิเคราะห์ของนักเรียนที่เรียนด้วยคู่มือการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการใช้สองเป็นฐาน วิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3. ความสามารถในการให้เหตุผลของนักเรียนที่เรียนด้วย คู่มือการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการใช้สมองเป็นฐาน วิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

4. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยคู่มือการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการใช้สมองเป็นฐาน วิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

5. การคิดวิเคราะห์ ความสามารถในการให้เหตุผล และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่มีความฉลาดทางอารมณ์ สูง ปานกลาง และต่ำ ที่เรียนด้วยคู่มือการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการใช้สมองเป็นฐาน วิชาคณิตศาสตร์ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Abstract

The purposes of this study were 1) to develop the learning manual by Constructivist Theory together with Brain-based learning affected to analytical thinking, giving reasons, and learning achievement by the established standard criteria of 50 of the effectiveness index, 2) to compare the analytical thinking, giving reasons, and learning achievement before and after studying with the learning manual by Constructivist Theory together with Brain-based learning in Mathematics of Pratomsuksa 6 students, 3) to compare the analytical thinking, ability in giving reasons, and learning achievement of the students who have high, medium, and low level of emotional quotient that have learned with the learning manual by Constructivist Theory together with Brain-based learning of Pratomsuksa 6 students. The population was 289 primary students of 11 Schools in Nakaew Ban Pan School Network Center under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1 in the second semester, academic year 2559. The sample was 19 Pratomsuksa 6 students of Ban Nadue School in Nakaew Ban Pan School Network Center in the second semester, academic year 2559 gained by Cluster Random Sampling. The instruments of this research were, 1) the learning manual by Constructivist Theory together with Brain-based learning, 2) the examination of analytical thinking, 3) the examination of ability in giving reason, 4) the examination of learning achievement, and 5) the questionnaire of emotional quotient, Department of Mental Health. The data analysis were mean, standard deviation, effectiveness Index (E.I.), t-test for dependent sample, One-way Analysis of Variance (One-way ANOVA), (One-way ANCOVA) and One-way Multivariate Analysis of Variance (One-way MANOVA).

The results of the study were as follow:

1. The learning manual by Constructivist Theory together with Brain-based learning affected to analytical thinking, solving problems in mathematics, and learning achievement of Pratomsuksa 6 students contained its effectiveness index of 56.42, 57.53, and 66.43 and the total of 60.13 which was higher than the established standard criteria.

2. After the students had learnt through the learning manual by Constructivist Theory together with Brain-based learning, their analytical thinking was significantly higher than that before at .05 statistical level.

3. After the students had learnt through the learning manual by Constructivist Theory together with Brain-based learning, their ability in giving reason was significantly higher than that before at .05 statistical level.

4. After the students had learnt through the learning manual by Constructivist Theory together with Brain-based learning, their learning achievement was significantly higher than that before at .05 statistical level.

5. After learning through the learning manual by Constructivist Theory together with Brain-based learning, the students who have high, medium, and low level of emotional quotient had significantly different analytical thoughts, ability in giving reason and learning achievement at .05 statistical level.

คำสำคัญ

คู่มือการจัดการเรียนรู้, ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์, การใช้สมองเป็นฐาน, การคิดวิเคราะห์, ความสามารถในการให้เหตุผล, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

Keyword

The Learning Manual, Constructivist Theory, Brain-based Learning, Analytical Thinking, Ability giving Reason, Learning Achievement
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 6

วันนี้: 491

เมื่อวานนี้: 600

จำนวนครั้งการเข้าชม: 789,424

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033