...
...
เผยแพร่: 30 เม.ย. 2555
หน้า: 167-173
ประเภท: บทความวิจัย
View: 181
Download: 89
Download PDF
การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนแบบร่วมมือ โดยใช้รูปแบบ STAD และ TGT เรื่อง โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
Development of Cooperative Learning Activities entitled “Mathematics Problem-solving” by using Student Teams-Achievement Divisions (STAD) and Teams-Games-Tournaments (TGT) for Prathom Suksa 1
ผู้แต่ง
วิจิตร ไชยจันทร์, พจมาน ชำนาญกิจ
Author
Wijit Chaichun, Potchaman Chumnankit

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนแบบร่วมมือ โดยใช้รูปแบบแบ่งกลุ่มสัมฤทธิ์ (STAD) และรูปแบบแข่งขันระหว่างกลุ่มด้วยเกม (TGT) เรื่องโจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่องโจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบร่วมมือ โดยใช้รูปแบบแบ่งกลุ่มสัมฤทธิ์ (STAD) และรูปแบบแข่งขันระหว่างกลุ่มด้วยเกม (TGT) ก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เปรียบเทียบ เจตคติต่อการเรียนคณิตศาสตร์ ก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบร่วมมือ โดยใช้รูปแบบแบ่งกลุ่มสัมฤทธิ์ (STAD) และรูปแบบแข่งขันระหว่างกลุ่มด้วยเกม (TGT)

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 13 คน โรงเรียนบ้านมหาชัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบร่วมมือ โดยใช้รูปแบบ แบ่งกลุ่มสัมฤทธิ์ (STAD) และรูปแบบแข่งขันระหว่างกลุ่มด้วยเกม (TGT) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ซึ่งมีความยาก (p) อยู่ระหว่าง 0.26-0.58 มีค่าอำนาจจำแนก (r) อยู่ระหว่าง 0.21-0.79 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.82 แบบวัดเจตคติต่อการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ซึ่งหาอำนาจจำแนกโดยการหาค่าสหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนรายข้อกับคะแนนรวม (Item-total Correlation) ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนก (r) 0.41-0.95 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .91 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test Dependent Samples)

ผลการวิจัยพบว่า

1. กิจกรรมการเรียนการสอนแบบร่วมมือ โดยใช้รูปแบบแบ่งกลุ่มสัมฤทธิ์ (STAD) และรูปแบบแข่งขันระหว่างกลุ่มด้วยเกม (TGT) มีประสิทธิภาพ 83.33/82.31 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 75/75

2. นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบร่วมมือ โดยใช้รูปแบบแบ่งกลุ่มสัมฤทธิ์ (STAD) และรูปแบบแข่งขันระหว่างกลุ่มด้วยเกม (TGT) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสติที่ระดับ .01

3. นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบร่วมมือ โดยใช้รูปแบบแบ่งกลุ่มสัมฤทธิ์ (STAD) และ รูปแบบแข่งขันระหว่างกลุ่มด้วยเกม (TGT) เจตคติต่อการเรียนคณิตศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Abstract

The purposes of this research were to: 1) develop Cooperative Learning Activities entitled “Mathematics Problem Solving” by using Student Teams Achievement Divisions (STAD) and Teams-Games-Tournaments (TGT) methods for Prathom Suksa 1 to meet the standard efficiency of 75/75, 2) compare students’ learning achievement before and after the intervention, and 3) explore students’ attitudes towards Mathematics learning through the developed Cooperative Learning Activities. The samples, obtained through purposive sampling techniques, consisted of 13 Prathom Suksa 1 students who enrolled in the second semester of academic year 2010 at Banmahachai School under Nakhon Phanom Primary Educational Service Area Office 1.  The research instruments were instructional management activity plans of Cooperative Learning Activities based on Student Teams Achievement Divisions (STAD) and Teams-Games-Tournaments (TGT) methods, a Mathematics learning achievement test on “Mathematics Problem-solving” with a difficulty index (p) ranging from 0.26 to 0.58, and a discrimination ranging from 0.21 to 0.79, and 0.82 reliability, and an attitude scale towards learning Mathematics using Item-total Correlation with a discrimination (r) ranged from 0.41to 0.95 and .91 reliability.  The statistical analyses used in this study were mean, percentage, standard deviation, and t-test (Dependent Samples).

The findings of the research were:

1. The efficiency of the Cooperative Learning Activities entitled “Mathematics Problem-solving” by using Student Teams Achievement Divisions (STAD) and Teams-Games-Tournaments (TGT) methods was 83.33/82.31, which was higher than the set criterion of 75/75.

2. The students’ learning achievement after the intervention was significantly different at the .01 level.

3. The students’ attitudes towards learning Mathematics through the developed Cooperative Learning Activities was significantly different at the .01 level.


ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 11

วันนี้: 281

เมื่อวานนี้: 556

จำนวนครั้งการเข้าชม: 796,255

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033