...
...
เผยแพร่: 5 ก.ย. 2561
หน้า: 1-13
ประเภท: บทความวิจัย
View: 387
Download: 215
Download PDF
การพัฒนาการคิดวิเคราะห์และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ รายวิชาชีววิทยา เรื่อง การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช โดยใช้การจัดการเรียนรู้ แบบร่วมมือรูปแบบ STAD ร่วมกับการใช้ผังมโนทัศน์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
Development of Critical Thinking Ability and Science Process Skills in Biology Entitled “Photosynthesis in Plants” Using Cooperative Learning Strategy of STAD and Concept Mapping of Mathayom Suksa 5 Students
ผู้แต่ง
น้ำผึ้ง เสนดี, อนันต์ ปานศุภวัชร, อุษา ปราบหงษ์
Author
Nampung Sendee, Anun Pansupawat, Usa Prabhong

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ รายวิชาชีววิทยา เรื่อง การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบ STAD ร่วมกับการใช้ผังมโนทัศน์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน ก่อนและหลังเรียนที่เรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบ STAD ร่วมกับการใช้ผังมโนทัศน์ 3) เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนที่เรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบ STAD ร่วมกับการใช้ผังมโนทัศน์ 4) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนที่เรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบ STAD ร่วมกับการใช้ผังมโนทัศน์ และ 5) เพื่อศึกษาจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ที่เรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบ STAD ร่วมกับการใช้ผังมโนทัศน์ ตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเซิมพิทยาคม อำเภอโพนพิสัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 30 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบ STAD ร่วมกับการใช้ผังมโนทัศน์ แบบทดสอบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแบบประเมินจิตวิทยาศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที (t-test for dependent samples)

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1. แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบ STAD ร่วมกับการใช้ผังมโนทัศน์ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 77.10/77.14 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่กำหนดไว้

2. การคิดวิเคราะห์ของนักเรียน หลังเรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบ STAD ร่วมกับการใช้ผังมโนทัศน์ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนหลังเรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบ STAD ร่วมกับการใช้ผังมโนทัศน์ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

4. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน หลังเรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบ STAD ร่วมกับการใช้ผังมโนทัศน์ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

5. จิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียน หลังเรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบ STAD ร่วมกับการใช้ผังมโนทัศน์ อยู่ในระดับมาก

Abstract

The purposes of the study included the following: 1) to develop the instructional management of boology entitled “Photosynthesis in Plants” using Cooperative Learning Strategy of STAD (Student Teams-Achievement Divisions) and Concept Mapping for Mathayom Suksa 5 students to contain its efficiency of of 75/75, 2) to compare the students’ critical thinking ability gained before and after learning through learning management using STAD and Concept Mapping, 3) to compare the students’ science process skills obtained before and after learning through learning management using STAD and Concept Mapping, 4) to compare the students’ achievements attained before and after learning through learning management using STAD and Concept Mapping, 5) to examine the scientific mind of the students who learnt through the developed learning management using STAD and Concept Mapping. The subjects were 30 Mathayom Suksa 5 students who were studying in the second semester of 2016 academic year at Sermpittayakom School, Phon Phisai District, the Office of Secondary Educational Service Area 21. They were gained by cluster sampling. The instruments used in the study were the lesson plans using Cooperative Learning Strategy of STAD (Student Teams-Achievement Divisions) and Concept Mapping, the form to examine the students’ critical thinking ability, the test to measure the students’ science process skills, an employed for data analysis consisted of percentage, mean, standard deviation, and t-test (Dependent Samples).

The study unveiled these results:

1. The lesson plans using Cooperative Learning Strategy of STAD (Student Teams-Achievement Divisions) and Concept Mapping for Mathayom Suksa 5 students had their efficiency of 77.10/77.14 which was higher than the set criteria of 75/75.

2. After the students had learnt through the instructional management using Cooperative Learning Strategy of STAD (Student Teams-Achievement Divisions) and Concept Mapping, their critical thinking ability was statistically and significantly higher than that of before at .01 level.

3. After the students had leamt through the instructional management using Cooperative Learning Strategy of STAD (Student Teams-Achievement Divisions) and Concept Mapping, their science process skills were statistically and significantly higher than that of before at .01 level.

4. After the students had learnt through the instructional management using Cooperative Learning Strategy of STAD (Student Teams-Achievement Divisions) and Concept Mapping, their learning achievement was statistically and significantly higher than that of before at .01 level.

5. After the students had learnt through the instructional management using Cooperative Learning Strategy of STAD (Student Teams-Achievement Divisions) and Concept Mapping, their scientific mind was at the high level.

คำสำคัญ

การเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบ STAD, ผังมโนทัศน์, การคิดวิเคราะห์, ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์, จิตวิทยาศาสตร์

Keyword

Cooperative Learning Strategy of STAD (Student Teams-Achievement Divisions), Concept Mapping, science process skills, scientific mind
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 17

วันนี้: 864

เมื่อวานนี้: 1,300

จำนวนครั้งการเข้าชม: 971,899

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033