บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้กิจกรรมเสียงหัวเราะร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบ KWL-Plus สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถทางการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้กิจกรรมเสียงหัวเราะร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบ KWL-Plus 3) เพื่อศึกษาเจตคติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้กิจกรรมเสียงหัวเราะร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบ KWL-Plus กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนบ้านโนนขวาวนายูง อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 32 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจและแบบวัดเจตคติต่อการเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้กิจกรรมเสียงหัวเราะร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบ KWL-Plus
การวิจัยครั้งนี้ ใช้แบบแผนการวิจัยแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน (One Group Pretest-Posttest Design) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย () ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test Dependent Samples)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้กิจกรรมเสียงหัวเราะร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบ KWL-Plus ที่พัฒนาขึ้นมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 80.97/78.52 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 75/75
2. ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนที่เรียน โดยใช้กิจกรรมเสียงหัวเราะร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบ KWL-Plus หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. นักเรียนมีเจตคติต่อกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้กิจกรรมเสียงหัวเราะร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบ KWL-Plus หลังการเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.51 ซึ่งอยู่ในระดับดีมาก
Abstract
The Purposes of this research were: 1) to develop the instructional activities for enhancing the ability in English reading comprehension by using the laughter activities and KWL-Plus learning method for Prathom Suksa 5 students; 2) to compare English reading comprehension achievement for Prathom Suksa 5 students before and after learning through the laughter activities and KWL-Plus learning method; 3) to study students’ attitudes toward the instructional activities for enhancing the ability in English reading comprehension by using the laughter activities and KWL-Plus learning method for Prathom Suksa 5 students. The subjects were 32 Prathom Suksa 5 students of Banknownkhaownayoong School in the first semester of academic year 2011. They were chosen by Cluster Random Sampling. The instruments were an English reading comprehension test and the attitude questionnaire towards the instructional activities for enhancing the ability in English reading comprehension by using the laughter activities and KWL-Plus learning method.
The design of this study was One Group Pretest-Posttest Design. The data were statistically analyzed by mean scores (), percentage, standard deviation (S.D.) and the t-test for dependent samples.
The result of this study were as follows:
1. The effectiveness of the instructional activities for enhancing the ability in English reading comprehension by using the laughter activities and KWL-Plus learning method for Prathom Suksa 5 students was higher than the set criterion of 75/75 at 80.97/78.50.
2. The ability in English reading comprehension by using the laughter Activities and KWL-Plus learning method achievement posttest of the students was significantly higher than pretest at the .01 level.
3. The student’s attitude toward the instructional activities for enhancing the ability in English reading comprehension by using the laughter activities and KWL-Plus learning method for Prathom Suksa 5 students was averaged at 4.51. It was at very good level.
กำลังออนไลน์: 12
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 1,260
จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,249
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033