...
...
เผยแพร่: 30 เม.ย. 2555
หน้า: 103-110
ประเภท: บทความวิจัย
View: 234
Download: 217
Download PDF
การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม เรื่อง การรำโส้ทั่งบั้ง สาระนาฏศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลกุสุมาลย์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1
Development of School Curriculum of Additional Strand Entitled “So Tang Bang Dance” for Dramatic Arts Subject of Prathom Suksa at Anuban Kusuman School Under the office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 1
ผู้แต่ง
นวลผกา ชุณห์วิจิตรา, พจมาน ชำนาญกิจ
Author
Nuanpaka Chunvijitra, Potchaman Chumnankit

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม เรื่อง การรำโส้ทั่งบั้ง สาระนาฏศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลกุสุมาลย์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร  เขต 1 2) ศึกษาประสิทธิภาพของหลักสูตรสถานศึกษา สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม เรื่อง การรำโส้ทั่งบั้ง ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังการเรียนการสอนตามหลักสูตรสถานศึกษา เรื่อง การรำโส้ทั่งบั้ง 4) ศึกษาทักษะการปฏิบัติท่ารำโส้ทั่งบั้ง ของนักเรียนที่ได้เรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม เรื่อง การรำโส้ทั่งบั้ง 5) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม เรื่อง การรำโส้ทั่งบั้ง 

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองหลักสูตร คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/4 โรงเรียนอนุบาลกุสุมาลย์  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 34 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling)

การพัฒนาหลักสูตรประกอบด้วยขั้นตอน ดังนี้ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน 2) พัฒนาหลักสูตร 3) นำหลักสูตรสถานศึกษาไปทดลองใช้ 4) ประเมินผลการทดลองและปรับปรุงแก้ไข วิเคราะห์ข้อมูลโดยการทดสอบค่าที (t-test) แบบไม่อิสระกัน 

ผลการวิจัยพบว่า

1. ผลการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม เรื่อง การรำโส้ทั่งบั้งชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  โรงเรียนอนุบาลกุสุมาลย์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 โดยผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ตรวจสอบความถูกต้องและประเมินความเหมาะสมของหลักสูตรและเอกสารประกอบหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นพบว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.55 

2. ประสิทธิภาพของหลักสูตรสถานศึกษา สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม เรื่อง การรำโส้ทั่งบั้ง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลกุสุมาลย์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ  85.96/86.85 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 

3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการสอนตามหลักสูตรสถานศึกษา สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม เรื่อง การรำโส้ทั่งบั้ง หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

4. ทักษะปฏิบัติท่ารำโส้ทั่งบั้งของนักเรียนที่ได้เรียนรู้ตามหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นอยู่ในระดับดีมากซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ ระดับดี โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 87.44 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดคือร้อยละ 80 

5. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม เรื่อง การรำโส้ทั่งบั้ง อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.84

Abstract

The purposes of this research were to 1) develop the School Curriculum of Additional Strand Entitled “So Tang  Bang Dance” for Dramatic Arts Subject of Prathom Suksa at Anuban Kusuman School Under the office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 1, 2) examine its efficiency to meet the standard efficiency criteria of 80/80, 3) investigate the students’ learning achievement before and after the intervention, 4) explore the students’ performance skills of “So Tang Bang dance” after learning through the developed curriculum, and 5) explore the students’ satisfaction towords learning through the developed curriculum.

The samples of the study, obtained through Cluster Random Sampling techniques, consisted of 34   Prathom Suksa 6 Students who enrolled in the second semester of the 2009 academic year at Anuban  Kusuman School Under the office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 1.

The School curriculum was developed through five stage as follows: 1) investigation of fundamental data, 2) curriculum developing, 3) implementation of the developed curriculum, and 4) curriculum evaluation and improvement. The statistics used in analyzing data was t–test.

The result of this research were as follow:

1. The results from the expertise’s assessment in terms of contents’ correctness and appropriateness  of the school curriculum and supplementary materials was at a high level of appropriateness at a mean average of 4.55.

2. The efficiency of the school curriculum of additional strand entitled “So Tang Bang Dance” for Dramatic Arts Subject of Prathom Suksa 6 was 85.96/86.85 which was higher than the criterion.3.

The posttest average scores of learning achievement after the intervention were higher than  the pretest average scores at the .01 level of significance.

4. The students’ performance skill of “So Tang Bang” dance was at 87.44% which was higher  than the set criteria of 80%.

5. The students’ satisfaction toward learning through the developed curriculum was at the  highest level at mean of 4.87.


ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 64

วันนี้: 0

เมื่อวานนี้: 1,415

จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,404

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033