...
...
เผยแพร่: 30 เม.ย. 2555
หน้า: 93-102
ประเภท: บทความวิจัย
View: 600
Download: 218
Download PDF
การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยใช้วิธีสอนแบบซินดิเคท เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
Development of the Lesson Plans Emphasizing the Critical Thinking Using Syndicate Method Entitled “The Principles of Buddhism” on the Social Studies, Religion and Culture Learning Group for Prathom Suksa 5
ผู้แต่ง
หทัยรัตน์ สมดี, สำราญ กำจัดภัย, ภูมิพงศ์ จอมหงษ์พิพัฒน์
Author
Hathairat Somdee, Sumran Gumjudpai, Bhumbhong Jomhongbhibhat

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยใช้วิธีสอนแบบซินดิเคท เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยใช้วิธีสอนแบบซินดิเคท เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยใช้วิธีสอนแบบซินดิเคท เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านป่าหว้าน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการคิดอย่างมีวิจารณญาณโดยใช้วิธีสอนแบบซินดิเคท เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที่แบบไม่อิสระกัน (Dependent Samples t-test)

ผลการวิจัยพบว่า

1. ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ ที่เน้นการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยใช้วิธีสอนแบบซินดิเคท เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 83.89/82.80 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ที่ 80/80 

2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ ที่เน้นการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยใช้วิธีสอนแบบซินดิเคท เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ที่พัฒนาขึ้น สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยใช้วิธีสอนแบบซินดิเคท เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ที่พัฒนาขึ้น สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการเรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยใช้วิธีสอนแบบซินดิเคท เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมที่พัฒนาขึ้น โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.79

Abstract

The purposes of this research were 1) to develop the Lesson plans emphasizing the critical thinking using Syndicate Method entitled “The Principles of Buddhism” on the Social Studies, Religion and Culture Learning Group for Prathom Suksa 5 according to the set criteria of 80/80, 2) to compare the students’ achievements between before and after they had learned through the construction of critical thinking using Syndicate Method entitled “The Principles of Buddhism” on the Social Studies, Religion and Culture Learning Group for Prathom Suksa 5, 3) to compare the students’ critical thinking between before and after they had learned through the development of lesson plans emphasizing Syndicate Method entitled “The Principles of Buddhism” on the Social Studies, Religion and Culture Learning Group for Prathom Suksa 5, and 4) to investigate the students’ satisfaction from their learning which was managed by the development of lesson plans emphasizing critical thinking using Syndicate Method entitled “The Principles of Buddhism” on the Social Studies, Religion and Culture Learning Group.

The sampling group consisted of 30 Prathom Suksa 5 students, selected by purposive sampling technique at Ban Phawan School under the Office of Sakon Nakhon Prathom Suksa Educational Service Area 1 during the first semester of academic year 2011.

The instruments of this study were as follows : lesson plans emphasizing critical thinking using Syndicate Method entitled “The Principles of Buddhism” on the Social Studies, Religion and Culture Learning Group for Prathom Suksa 5, a learning achievement test, a learning critical thinking test, and a question air of satisfaction measurement toward The developed lesson plans emphasizing on critical thinking using Syndicate Method entitled “The Principles of Buddhism” on the Social Studies, Religion and Culture Learning Group for Prathom Suksa 5.

Statistics used to analyze the data were means, standard deviation, percentage and dependent samples t-test.

The findings were as follows:

1. The efficiency of lesson plans emphasizing the critical thinking using Syndicate Method entitled “The Principles of Buddhism” on the Social Studies, Religion and Culture Learning Group for Prathom Suksa 5 developed by the researcher had a value at 83.89/82.80 which was higher than the value of 80/80 stated for hypothesis.

2. After Prathom Suksa 5 students had learnt through the developed lesson plans emphasizing on critical thinking using Syndicate Method entitled “The Principles of Buddhism” on the Social Studies, Religion and Culture Learning Group for Prathom Suksa 5, they had higher achievement than that of before at .01 level of significance.

3. After Prathom Suksa 5 students had learnt through development of lesson plans emphasizing critical thinking using Syndicate Method entitled “The Principles of Buddhism” on the Social Studies, they had higher critical thinking achievement than that of before at .01 level of significance.

4. The average score of students’ satisfaction toward the developed lesson plans emphasizing critical thinking using Syndicate Method entitled “The Principles of Buddhism” on the Social Studies, Religion and Culture Learning Group for Prathom Suksa 5 was at the highest level of 4.79.


ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 59

วันนี้: 0

เมื่อวานนี้: 1,391

จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,380

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033