บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) สร้างแผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ร่วมกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ร่วมกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3) เปรียบเทียบความมีเหตุผล ความพอประมาณ และการมีภูมิคุ้มกัน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ร่วมกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 4) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ร่วมกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และ 5) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการเรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ร่วมกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยในครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนชุมชนเทศบาล 3 (พินิจพิทยานุสรณ์) อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม สังกัดเทศบาลเมืองนครพนม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 1 ห้องเรียน 30 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ร่วมกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แบบทดสอบวัดความมีเหตุผล ความพอประมาณ การมีภูมิคุ้มกัน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที t-test ชนิด Dependent Samples
ผลการวิจัยพบว่า
1. การจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ร่วมกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีประสิทธิภาพเท่ากับ 78.70/77.78 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่กำหนดไว้
2. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนหลังเรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ร่วมกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความมีเหตุผล ความพอประมาณ และการมีภูมิคุ้มกันของนักเรียนหลังเรียน โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ร่วมกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียน โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ร่วมกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
5. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ร่วมกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนอยู่ในระดับมาก
Abstract
The purposes of this study were 1) to construct the learning plans using Cooperative Learning of STAD and Sufficiency Economy Philosophy for Mathayom Suksa 5 students to contain the efficiency of 75/75, 2) to compare Mathayom Suksa 5 students’ science process skills before and after they had learnt through the learning plans using Cooperative Learning of STAD and Sufficiency Economy Philosophy, 3) to compare Mathayom Suksa 5 students’ rationality, modesty and self-immunity before and after they had learnt through the learning plans using Cooperative Learning of STAD and Sufficiency Economy Philosophy, 4) to compare Mathayom Suksa 5 students’ scientific learning achievements possessed before and after they had learnt through the learning plans using Cooperative Learning of STAD and Sufficiency Economy Philosophy, and 5) to examine Mathayom Suksa 5 students’ satisfaction of learning through the learning plans using Cooperative Learning of STAD and Sufficiency Economy Philosophy. The subjects were 30 Mathayom Suksa 5 students who were studying in the second semester of 2016 acedemic year at Chumchontessaban 3 (Pinitpittayanusorn) School, Muang District, Nakhon Phanom Province, Muang Nakhon Phanom Municiplaity. They were obtained by cluster random sampling. The instruments employed for data collection included the learning plans entitled “Chemical Reaction Rate Using Cooperative Learning of STAD and Sufficiency Economy Philosophy” for Mathayom Suksa 5 students, the form to assess the students’ science Process skills, the test to evaluate the students’ rationality, modesty and self-immunity, the learning achievement test, and a questionnaire to survey the students’ satisfaction. The statistics employed for data analysis were percentage, mean, standard deviation, and t-test (Dependent Samples).
The study revealed these results:
1. The learning plans using Cooperative Learning of STAD and Sufficiency Economy Philosophy for Mathayom Suksa 5 students contained the efficiency of 78.70/77.78 which was higher than the set criteria of 75/75.
2. After the students had learnt through the learning plans using Cooperative Learning of STAD and Sufficiency Economy Philosophy, their science process skills were significantly higher than those of before at .01 statistical level.
3. After the students had learnt through the learning plans using Cooperative Learning of STAD and Sufficiency Economy Philosophy, their rationality, modesty and self-immunity were significantly higher than those of before at .01 statistical level.
4. After the students had learnt through the learning plans using Cooperative Learning of STAD and Sufficiency Economy Philosophy, their learning achievements were significantly higher than those of before at .01 statistical level.
5. Mathayom Suksa 5 students’ satisfaction of learning through the learning plans using Cooperative Learning of STAD and Sufficiency Economy Philosophy was at the high level.
คำสำคัญ
การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ, เทคนิค STAD, ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง, ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์, ความมีเหตุผล, ความพอประมาณ, การมีภูมิคุ้มกันKeyword
Cooperative Learning of STAD, Sufficiency Economy Philosophy, science process skills, rationality, modesty, self-immunityกำลังออนไลน์: 15
วันนี้: 890
เมื่อวานนี้: 1,300
จำนวนครั้งการเข้าชม: 971,925
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033