...
...
เผยแพร่: 30 เม.ย. 2555
หน้า: 85-92
ประเภท: บทความวิจัย
View: 197
Download: 237
Download PDF
การวิจัยปฏิบัติการเพื่อแก้ปัญหาการอ่านหนังสือไม่ออก ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านคางฮุงเจริญศิลป์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2
Action Research for Solving Illiteracy Problem of Prathom Suksa 6 Students of Ban Kanghung Charoensin School under the Office of Sakon Nakhon Elementary Educational Service Area 2
ผู้แต่ง
ลือชัย สุวรรณไตร, สำราญ กำจัดภัย, ประยูร บุญใช้
Author
Luechai Suwannathrai, Sumran Gumjudpai, Prayoon Boonchai

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหาการอ่านหนังสือไม่ออกของนักเรียนชั้นประถมปีที่ 6 ตามกระบวนการวิจัยปฏิบัติการ โดยกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนบ้านคางฮุงเจริญศิลป์ จำนวน 6 คน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แบบฝึกทักษะ จำนวน 9 ชุด เครื่องมือที่ใช้สะท้อนผลการทดลอง ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูล แบบสังเกตพฤติกรรมการสอนของครู แบบสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนและแบบทดสอบย่อย เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพของกิจกรรม ได้แก่ แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่าน

การวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยปฏิบัติการ มีขั้นตอนการปฏิบัติ 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นวางแผน ขั้นปฏิบัติการ ขั้นสังเกตติดตามและประเมินผลและขั้นสะท้อนผลการปฏิบัติในการดำเนินการ 4 วงรอบ คือ วงรอบที่ 1 การอ่านพยัญชนะและสระ วงรอบที่ 2 การแจกลูกสะกดคำและอ่านคำที่ประสมสระเดี่ยวที่ไม่มีตัวสะกด วงรอบที่ 3 การแจกลูกสะกดคำและการอ่านคำที่ประสมสระผสมที่ไม่มีตัวสะกด วงรอบที่ 4 การแจกลูกสะกดคำและอ่านคำ ที่มีตัวสะกดในมาตราตัวสะกดตัวเดียวและมาตราตัวสะกดหลายตัว โดยการนำข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมผลการปฏิบัติในแต่ละวงรอบมาวิเคราะห์และปรับแผนการปฏิบัติในวงรอบต่อไป

ผลการดำเนินการวิจัยพบว่า

นักเรียนกลุ่มเป้าหมายหลังการแก้ปัญหาการอ่านหนังสือไม่ออกตามกระบวนการ วิจัยปฏิบัติการ ผ่านเกณฑ์การประเมินที่ตั้งไว้ร้อยละ 80 ของคะแนนเต็มมีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ของนักเรียนทั้งหมด

Abstract

The purpose of this study was to solve illiteracy problem of Prathom Suksa 6 students by using action research. The target group for the study was 6 Prathom Suksa 6 students who were enrolling in the second semester of 2010 academic year at Ban Kanghung Charoensin School.

The instruments used in the study were subdivided into 3 categories. The first category which was adopted for the experiment comprised 9 exercises employed to practice the students’ skills. The second category which was used to reflect the results gained from the experiment included the form used to record general information, observation form to record the teacher’s teaching behaviors, observation form to record the students’ behaviors, and formative tests. The third category which was used for evaluating the activities’ efficiency consisted of the test to measure the students’ reading ability.

The action research employed for the study could be classified into 4 stages i.e. planning; action; observation and following up; and reflection.  Four spirals of the research were composed of (1) reading the consonants and the vowels, (2) spelling method and reading the words formed by initial consonant and monophthongs which did not have final consonants-open words, (3) spelling method and reading words formed by initial consonant and diphthongs which did not contain final consonants-closed words, (4) spelling method and reading closed words with one or more final consonants. The information obtained from each spiral was collected and then analyzed so as to be adjusted for the next spirals.

The study showed the following results:

In taking their test, the 6 target students could read higher than the set points of 80 percent of the test.  All of them passed the test which equaled 100 percent of target group.


ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 6

วันนี้: 121

เมื่อวานนี้: 556

จำนวนครั้งการเข้าชม: 796,095

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033