...
...
เผยแพร่: 30 เม.ย. 2555
หน้า: 69-76
ประเภท: บทความวิจัย
View: 179
Download: 76
Download PDF
การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ สาระดนตรีและนาฏศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
Development of an Integrated Learning Unit of the Substance of Music and Performing Art for Prathom Suksa 6
ผู้แต่ง
อัญชลี บงบุตร, พจมาน ชำนาญกิจ, อุษา ปราบหงษ์
Author
Unchalee Bongbood, Potchaman Chumnankit, Usa Prabhong

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ สาระดนตรีและนาฏศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) หาประสิทธิภาพของหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ สาระดนตรีและนาฏศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนโดยใช้หน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ สาระดนตรีและนาฏศิลป์ 4) ศึกษาทักษะการปฏิบัติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนโดยใช้หน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ สาระดนตรีและนาฏศิลป์ 5) ศึกษาเจตคติต่อการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนโดยใช้หน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ สาระดนตรีและนาฏศิลป์

กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนชุมชนบ้านหนองหิ้ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 3 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 18 คน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) หน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ สาระดนตรีและนาฏศิลป์ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบวัดทักษะปฏิบัติ 4) แบบวัดเจตคติของนักเรียนที่เรียนโดยใช้หน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ สาระดนตรีและนาฏศิลป์ ในการวิจัยครั้งนี้ใช้แบบแผนการวิจัยแบบ One Group Pretest–Posttest Design สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ t-test ชนิด Dependent Samples

ผลการวิจัยพบว่า

1. หน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ สาระดนตรีและนาฏศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีองค์ประกอบที่สำคัญคือ ความสำคัญ การวิเคราะห์เชื่อมโยงหน่วยการเรียนรู้ แนวการจัดกิจกรรม มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด เนื้อหาสาระ สื่อและแหล่งเรียนรู้ การวัดและประเมินผล

2. ผลการหาประสิทธิภาพของหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ สาระดนตรีและนาฏศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ประสิทธิภาพของกระบวนการกับประสิทธิภาพของผลลัพธ์ E1/E2 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.66/87.56 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้

3. นักเรียนที่เรียนโดยใช้หน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ สาระดนตรีและนาฏศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

4. ทักษะการปฏิบัติทางดนตรีและนาฏศิลป์ของผู้เรียนโดยใช้หน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ สาระดนตรีและนาฏศิลป์ มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 87.65 อยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ ระดับมากขึ้นไป

5. เจตคติของนักเรียนที่เรียนโดยใช้หน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ สาระดนตรีและนาฏศิลป์ ชั้นประถม ศึกษาปีที่ 6 มีคะแนนเฉลี่ย 4.39 อยู่ในระดับมาก

Abstract

The purposes of this study were: 1) to develop an integrated learning unit of the Substance of Music and Performing Art for Prathom Suksa 6 Students, 2) to examine the efficiency of an integrated learning unit of the Substance of Music and Performing Art for Prathom Suksa 6 Students based on the set criteria of 80/80, 3) to compare the students’ learning achievements gained before and after they had learnt through an integrated learning unit of the Substance of Music and Performing Art for Prathom Suksa 6 Students, 4) investigate the practical skills possessed by the students who had learnt through an integrated learning unit of the Substance of Music and Performing Art for Prathom Suksa 6 Students, 5) to survey Prathom Suksa 5 students’ attitudes toward learning through an integrated learning unit of the Substance of Music and Performing Art.

The subjects were 18 Prathom Suksa 5/1 students who were enrolled in 2010 academic year at Ban Nong Hing Community School under the Office of Nong Khai Educational Service Area 3.

The instruments used in the study included an integrated learning unit of the Substance of Music and Performing Art for Prathom Suksa 6 Students, a learning achievement test, a form to measure the students’ practical skills, a set of questionnaire to measure the students’ attitude toward learning through an integrated learning unit of the Substance of Music and Performing Art. The study adopted One Group Pretest Posttest Design. The statistics used for data analysis were mean, percentage, standard deviation, and t-test (Dependent samples).

The findings were as follows:

1. The integrated learning unit of the Substance of Music and Performing Art for Prathom Suksa 6 Students had all major components: significance of the unit, the connection analysis of all learning units, guidelines for holding the activities, learning milestones/standards, indicators, contents, learning media and learning sources, measurement and evaluation.

2. The integrated learning unit of the Substance of Music and Performing Art for Prathom Suksa 6 Students had its efficiency of 86.66/87.56 which was higher than the set criteria of 80/80.

3. After the students had learnt through the integrated learning unit of the Substance of Music and Performing Art for Prathom Suksa 6 Students, their achievement was statistically higher than that of before at .01 level of significance.

4. On the average, the students had their practical skills on learning through the integrated learning unit of the Substance of Music and Performing Art for Prathom Suksa 6 Students at 87.65   per cent which was at the highest level–higher than the set level of high.

5. The students had their attitude toward the integrated learning unit of the Substance of Music and Performing Art for Prathom Suksa 6 Students at 4.39 – the high level.


ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 6

วันนี้: 209

เมื่อวานนี้: 556

จำนวนครั้งการเข้าชม: 796,183

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033