บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการอ่านจับใจความโดยใช้วิธีสอนแบบ SQ4R กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังได้รับการสอน โดยใช้วิธีสอนแบบ SQ4R 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อกิจกรรมการอ่านจับใจความโดยใช้วิธีสอนแบบ SQ4R กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4 โรงเรียนบ้านศรีวิชัย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 19 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้การอ่านจับใจความโดยใช้วิธีสอนแบบ SQ4R จำนวน 8 แผน แบบทดสอบวัดความสามารถการอ่านจับใจความและแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการอ่านจับใจความโดยใช้วิธีสอนแบบ SQ4R สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและแบบทดสอบค่าที (t–test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. กิจกรรมการอ่านจับใจความโดยใช้วิธีสอนแบบ SQ4R กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีประสิทธิภาพเท่ากับ 88.87/86.58
2. นักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้กิจกรรมการอ่านการอ่านจับใจความโดยใช้วิธีสอนแบบ SQ4R มีความสามารถในการอ่านจับใจความสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการอ่านจับใจความโดยใช้วิธีสอนแบบ SQ4R อยู่ในระดับมาก
Abstract
The purposes of this study were, 1) to develop the thai reading comprehension activities of Pratom Suksa 4 using SQ4R method for the effective basis 80/80, 2) to compare the ability of thai reading comprehension of Pratom Suksa 4 between before and after using SQ4R Method, 3) to study about the satisfaction of the students to the thai reading comprehension activities using SQ4R methods. The Subject in this study was 19 Pratom Suksa 4. Who studied thai 4 in the second semests of a cademic year 2553 at Ban Srivichai School. The instruments used in this study were : 1) a lesson plan based on SQ4R method 2) a reading comprehension test and 3) a Questionnaire satisfaction. The data were analyzed by percentage, mean, standard deviation and t–test.
The results of this study revealed that : 1) the efficiency of the reading comprehension activities by using SQ4R method for Pratom Suksa 4 was 88.87/86.58 which was higher than the set Criterion of 80/80, 2) the reading comprehension ability of the students learning through the developed activities was higher than the intervention at the .01 level of significance, and 3) the students, satisfaction toward the developed activities was at high level.
กำลังออนไลน์: 12
วันนี้: 466
เมื่อวานนี้: 1,202
จำนวนครั้งการเข้าชม: 972,703
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033