บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อพัฒนาชุดเกมคอมพิวเตอร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเขียนสะกดคำยาก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังเรียนด้วยชุดเกมคอมพิวเตอร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเขียนสะกดคำยาก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) เพื่อศึกษาเจตคติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อ การเรียนการสอนด้วยชุดเกมคอมพิวเตอร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเขียนสะกดคำยาก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านตาลโกน สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 37 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) และการวิจัยครั้งนี้ใช้แบบแผนการวิจัย One Group Pretest Posttest Design
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) ชุดเกมคอมพิวเตอร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเขียนสะกดคำยาก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 7 ชุด 2) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 10 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบปรนัยเลือกตอบ 60 ข้อ 4) แบบวัดเจตคติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 20 ข้อ 5) แบบประเมินคุณภาพของชุดเกมคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test Dependent Samples)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ชุดเกมคอมพิวเตอร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเขียนสะกดคำยาก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.10/85.90 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนด้วยชุดเกมคอมพิวเตอร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเขียนสะกดคำยาก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีเจตคติต่อการเรียนการสอนด้วยชุดเกมคอมพิวเตอร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเขียนสะกดคำยาก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย อยู่ในระดับมากที่สุด
Abstract
The purposes of this study were: 1) to develop the computer game packages to enhance Mathayom Suksa 1 students’ ability to write difficult words in Thai Learning Substance Group to meet the established efficiency criteria of 80/80, 2) to compare the students learning achievements gained before and after they had learnt through the computer game packages to enhance Mathayom Suksa 1 students’ ability to write difficult words in Thai Learning Substance Group, 3) to investigate the students’ attitude towards the computer game packages to enhance Mathayom Suksa 1 students’ ability to write difficult words in Thai Learning Substance Group.
The subjects were 37 Mathayom Suksa 1 students who were studying in the first semester of the 2010 academic year at Ban Tankone School under the Office of Sakon Nakhon Elementary Educational Service Area 2. They were selected by cluster random sampling. One group pretest-posttest design was adopted in the study. The instruments used in the study were (1) 7 computer game packages to enhance the students’ ability to write difficult words in Thai Learning Substance Group, (2) 10 lesson plans, (3) 60-item-multiple choice test to measure the students’ achievement, (4) a 20-item questionnaire to explore the students’ attitude, (5) the form to measure the quality of the computer game. The statistics used for data analysis were mean, percentage, standard deviation, and t-test (Dependent Samples).
The study showed the following results:
1. The computer game packages to enhance Mathayom Suksa 1 students’ ability to write difficult words in Thai Learning Substance Group had their efficiency of 86.10/85.90 which was higher than the established efficiency criteria of 80/80.
2. After the students had learnt through the developed computer game packages to enhance Mathayom Suksa 1 students’ ability to write difficult words in Thai Learning Substance Group, their achievement was statistically higher than that of before at .01 level of significance.
3. The Mathayom Suksa 1 students’ attitude towards learning through the developed computer game packages to enhance Mathayom Suksa 1 students’ ability to write difficult words in Thai Learning Substance Group was at the highest level.
กำลังออนไลน์: 52
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 1,450
จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,439
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033