บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนแบบโครงงาน เรื่องการถนอมอาหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบโครงงาน เรื่องการถนอมอาหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังการเรียน 3) ศึกษาทักษะการปฏิบัติงานของนักเรียนที่เรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนการสอนแบบโครงงาน เรื่องการถนอมอาหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบโครงงาน เรื่องการถนอมอาหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านป่าผาง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 32 คนซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบเป็นกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ในการวิจัยครั้งนี้ใช้แบบแผนการวิจัยแบบ One Group Pretest-Posttest Design สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test Dependent Samples
ผลการวิจัยพบว่า
1. กิจกรรมการเรียนการสอนแบบโครงงาน เรื่องการถนอมอาหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ 81.77/82.34 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80
2. นักเรียนที่เรียนโดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบโครงงาน เรื่องการถนอมอาหาร มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ทักษะการปฏิบัติงานด้านการถนอมอาหารและด้านการทำโครงงานของนักเรียน อยู่ในระดับดีมาก
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบโครงงาน เรื่องการถนอมอาหาร อยู่ในระดับมากที่สุด
Abstract
The purposes of this research were : 1) to develop the learning activity based on project model entitled “Food Preserving” on Career and Technology learning substance group for Pratom suksa 6 on the efficiency criteria of 80/80, 2) to compare the students’ learning achievement learning through project model entitled “Food Preserving” on Career and technology learning substance group for Pratom Suksa 6, 3) to study the practical skill learning through project model entitled “Food Preserving” on Career and Technology learning substance group for Pratom suksa 6, and 4) to study the satisfaction of students to the learning activity based on project model entitled “Food Preserving” on Career and Technology learning substance group for Pratom suksa 6. The subjects were 32 Pratom Suksa 6 students of Banpapang School in the second semester of academic year 2010. They were selected by Cluster Random Sampling. The design of this study was One Group Pretest-Posttest Design. The data were analyzed by using percentage, mean, standard deviation and t-test (Dependent Samples).
The results of the research were as follows:
1. The efficiency criteria of the developed learning activity based on project model was 81.77/82.34 which was higher than the standard criteria (80/80).
2. The students’ learning achievement was higher than before learning through the developed learning activity based on project model at the .01 level of significance.
3. The practical skill on Food Preserving and project practices of students were at the very good level.
4. The satisfaction of students to the learning activity based on project model entitled Food Preserving was at the highest level.
กำลังออนไลน์: 18
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 1,266
จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,255
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033