บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายของการวิจัย 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือที่สอดแทรกการคิดอย่างมีวิจารณญาณ วิชาประวัติศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนจากการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือที่สอดแทรกการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนจากการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือที่สอดแทรกการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และ 4) เพื่อศึกษาเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือที่สอดแทรกการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนอากาศอำนวยศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 จำนวน 40 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือที่สอดแทรกการคิดอย่างมีวิจารณญาณ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบประจำชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือที่สอดแทรกการคิดอย่างมีวิจารณญาณ แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และแบบวัดเจตคตินักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ชนิด Dependent Samples
ผลการวิจัย พบว่า
1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือที่สอดแทรกการคิดอย่างมีวิจารณญาณ วิชาประวัติศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีค่าประสิทธิภาพ 83.75/82.94 ซึ่งผ่านเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. นักเรียนมีเจตคติต่อการเรียนการสอนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น อยู่ในระดับมากที่สุด
Abstract
The purposes of this research were: 1) to develop and study the efficiency of learning activity packages based on Cooperative Learning infused with critical thinking on history for Mattayom Suksa 1 on the 80/80 standard criterion, 2) to compare the students’ learning achievement before and after learning through the learning activity packages based on Cooperative Learning infused with critical thinking, 3) to compare the ability of critical thinking of students before and after learning through the learning activity packages based on Cooperative Learning infused with critical thinking and 4) to study the students’ attitude towards the instructional activities based on Cooperative Learning infused with critical thinking on history for Mattayom Suksa 1.
The subjects were 40 Mattayom Suksa 1 students of Akatamnuaysuksa School under the Secondary Educational Service Area Office 23 in the second semester of academic year 2010, obtained through Cluster random Sampling. The instruments used were : learning activity packages based on Cooperative Learning infused with critical thinking, a learning achievement test, a test of each learning activity package based on Cooperative Learning infused with critical thinking a critical thinking test and students’ attitude towards the instructional activities based on Cooperative learning infused with critical thinking test, The data were analyzed by percentage, mean, standard deviation and dependent samples t–test.
The results of this study were as follows:
1. The efficiency of the learning activity packages based on cooperative learning infused with critical thinking on history for Mattayom Suksa 1 was 83.75/82.94 which was higher than the set criterion of 80/80.
2. The students’ learning achievement after learning through the learning activity packages based on cooperative learning infused with critical thinking on history for Mattayom Suksa 1 was higher before the intervention at the .01 level of significance.
3. The ability of critical thinking of students after learning through learning activity packages based on cooperative learning infused with critical thinking on history for Mattayom Suksa 1 was higher before the intervention at the .01 level of significance.
4. The students’ attitude towards the instructional activities based on cooperative learning infused with critical thinking on history for Mattayom Suksa 1 was at the highest level.
กำลังออนไลน์: 47
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 1,456
จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,445
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033