...
...
เผยแพร่: 10 ม.ค. 2562
หน้า: 9-15
ประเภท: บทความวิจัย
View: 596
Download: 707
Download PDF
การวิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเลขยกกำลัง ที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนตรรกยะ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 52 สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
An Action Research to Develop Mathematics Learning Achievement on Power with Rational exponent of Mathayom Suksa 5 Students Rajaprajanugroh 52 Office of Special Education
ผู้แต่ง
อรอุมา ศรีเมือง, จุฑามาส ศรีจำนงค์
Author
Ornuma Srimueang, Jutamas Srijumnong

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาทางการเรียน เรื่องเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนตรรกยะ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 52 อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย 2) ศึกษาความคาดหวังและแนวทางการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนตรรกยะ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 52 อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย และ 3) ศึกษาผลการพัฒนาและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนตรรกยะ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนราชประชา นุเคราะห์ 52 อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย ระหว่างก่อนและหลังการพัฒนา กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 52 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 5 แผน แบบทดสอบท้ายวงจร และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติวิลคอกซัน

ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพปัญหาทางการเรียน เรื่องเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนตรรกยะ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจความหมายของบทนิยาม นำบทนิยามมาใช้ไม่เป็น ถอดรากที่ n ไม่ได้ เป็นเรื่องที่ยากและไกลตัว ครูขาดความชำนาญในการสอน ขาดสื่อการสอนหรือเทคนิคการสอนที่ทันสมัยต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ส่งผลให้ผู้เรียนไม่ชอบเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ทำให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ

2. ความคาดหวังต่อการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนตรรกยะ ให้ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 นักเรียนสามารถคิดคำนวณได้อย่างรวดเร็วและจำบทนิยามได้แนวทางการพัฒนา พบว่า ครูควรมีเทคนิคการสอนและสื่อการสอนที่ช่วยในการเรียนรู้ ได้แก่ การใช้แบบฝึกเสริมทักษะ การสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน การสอนแบบแบ่งกลุ่ม และการฝึกท่องจำบทนิยาม

3. ผลการพัฒนา พบว่า นักเรียนผ่านเกณฑ์ เรื่องเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนตรรกยะ จำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 87.50 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนตรรกยะ หลังพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Abstract

The purposes of this research were to 1) study problems of learning mathematics on power with rational ponent of Mathayomsuksa 5 students Rajaprajanugroh 52 Wungsapung district, Loei province, 2) study expectation and alternative to develop mathematics learning achievement on power with rational exponent of Mathayomsuksa 5 students Rajaprajanugroh 52 Wungsapung district, Loei province, and 3) study the result of development and compare achievement on power with rational exponent of Mathayomsuksa 5 students Rajaprajanugroh 52 Wungsapung district, Loei province between before and after development. The target group were 16 Mathayomsuksa 5 students Rajaprajanugroh 52 in the first semester of academic year 2018. The instruments used in this research were 5 lesson plans, end of cycle test and the instruments used for evaluating learning activities consisted of achievement test. Statistics used in the data analysis were percentages, mean, standard deviation and Wilcoxon signed rank test.

The findings were shown as follow:

1. The problems of learning Mathematics on power with rational exponent was most of Mathayomsuksa 5 students didn’t understand the meaning of definition and couldn’t use for radicals nth root. It’s difficult and distant. Teachers lack of skills and new instruction media or new teaching methods cause students didn’t like mathematics so they had low achievement.

2. Expectation to develop mathematics learning achievement of power with retional exponent were to 70 percent of students pass the criteria, students could increasingly calculate and remember definition. Alternative to develop were teachers should use teaching method and instruction media that develop learning, supplementary exercises, methodology of peer assisted teaching, committee work method and memorize definition.

3. The results of development were 14 students (87.50%) met the criteria and students’ learning achievement after the developing was higher than before at the significant level of .01.

คำสำคัญ

เลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนตรรกยะ, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, การวิจัยปฏิบัติการ

Keyword

Exponents with exponents are rational numbers, Achievement, Action research
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 3

วันนี้: 209

เมื่อวานนี้: 1,235

จำนวนครั้งการเข้าชม: 787,992

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033