...
...
เผยแพร่: 31 ธ.ค. 2555
หน้า: 241-249
ประเภท: บทความวิจัย
View: 187
Download: 221
Download PDF
การวิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนาความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านเหล่าทุ่ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1
Action Research on the Development of Creative Writing Abilities of Prathom Suksa 6 Students at Ban Lao Thung School under the Office of Nakhon Phanom Primary Education Service Area 1
ผู้แต่ง
บำเพ็ญ วรบุตร, สำราญ กำจัดภัย
Author
Bumpen Worabrush, Sumsan Gumjadpai

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อพัฒนาความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้รูปแบบการวิจัยปฏิบัติการร่วมกับเทคนิคการสอนแบบซินเนคติคส์และผังความคิด กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านเหล่าทุ่ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 19 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบซินเนคติคส์และผังความคิด จำนวน 6 แผน แบบบันทึกประจำแผนการจัดการเรียนรู้ แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนของผู้เรียน แบบบันทึกประจำวันของผู้วิจัย แบบทดสอบย่อย และแบบทดสอบวัดความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์

การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยวิธีวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้ ค่าเฉลี่ย และร้อยละ

ผลการวิจัยพบว่า

ภายหลังการพัฒนา นักเรียนทุกคนมีคะแนนความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ของคะแนนเต็ม โดยมีคะแนนเฉลี่ยต่อคนเท่ากับร้อยละ 86.38

จากการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ พบว่า ผู้เรียนมีความคิดที่หลากหลาย มีความคิดที่แปลกใหม่ มีความคิดสร้างสรรค์ผ่านงานเขียน กล้าเขียนงานอย่างอิสระ เขียนเรื่องราวที่แปลกใหม่จากจินตนาการใช้ถ้อยคำที่สละสลวย ประทับใจผู้อ่านและผู้ฟัง นอกจากนี้ ในการวิจัยปฏิบัติการครั้งนี้ ผู้วิจัยยังได้เก็บข้อมูลจากเครื่องมือต่างๆ และมีการสะท้อนผลควบคู่ไปกับการสอนทำให้ทราบความก้าวหน้าของนักเรียน และข้อบกพร่องต่างๆ ที่เกิดขึ้นในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะนำไปปรับปรุงและพัฒนาการสอนให้ดียิ่งขึ้น

Abstract

This study aimed to develop skills in creative writing abilities for the students in Prathom Saksa 6 using an action research through the Synectic Technique and Mind Mapping. The target group consisted of 19 Prathom Saksa 6 students in the second semester of 2011 academic year at Ban Lao Thung School under the Office of Nakhon Phanom Primary Educational Service Area 1. Tools used were composed of 6 lesson plans based on the Synectic Technque along with Mind Mapping, a form of records on lesson plans, a form of learners’ behavior observation, a form of the researcher’s diary record, quizzes and a test of creative writing abilities. Content Analysis was employed to analyze qualitative data. To analyze quantitative data, mean and percentage were applied.

The findings of this study were as follows :

After the development, all of the students gained the higher scores on creative writing abilities passing the criterion set of 80 percent. The average score was 86.38 percent per person.   

In addition, the analysis of qualitative data revealed that the students obtained diverse, new but queer as well as creative ideas through writing. The students dared to write freely. They wrote a type of new amazing stories originated form their own imagination together with the use of delicate or flowery words that impressed both readers and listeners. Because of action research, the researcher had to collect data through various tools. This led to the reflection of the student’s progress and minor defects that occurred in the learning activities. The teacher would use the information obtained to improve his/her teaching and to develop instructional process even further.


ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 52

วันนี้: 0

เมื่อวานนี้: 1,536

จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,525

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033