...
...
เผยแพร่: 31 ธ.ค. 2555
หน้า: 229-239
ประเภท: บทความวิจัย
View: 183
Download: 84
Download PDF
ยุทธศาสตร์การจัดการเรียนรู้ รายวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สุขภาพสะหวันนะเขต แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
A Strutegy of Learning Management on the Course “Nursing Adults and the Aged” for the Sophomores at Savannakhet Health Acience College, Savannakhet Province, Lao People’s Democratic Republic
ผู้แต่ง
ทองดำ ศรีสวัสดิ์, สำราญ กำจัดภัย, ภูมิพงศ์ จอมหงษ์พิพัฒน์
Author
Thondam Sisavath, Sumran Gumjudpai, Bhumphong Jomhonbhibhat

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายของการวิจัย เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาการเรียนการสอน รายวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ 2) สร้างยุทธศาสตร์การจัดการเรียนรู้ รายวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา ระหว่างก่อนและหลังเรียนกับเกณฑ์ที่กำหนด 4) ศึกษาทักษะการปฏิบัติงานของนักศึกษาหลังเรียน และ 5) ศึกษาความพึงพอใจต่อยุทธศาสตร์การจัดการเรียนรู้ของนักศึกษา

กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2554 วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สุขภาพสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จำนวน 53 คน วิธีดำเนินการวิจัย แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาสภาพปัญหา 2) การสร้างยุทธศาสตร์การพัฒนา 3) การทดลองใช้ยุทธศาสตร์การพัฒนา และ 4) การปรับปรุงและเผยแพร่ยุทธศาสตร์การพัฒนา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) การประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 3) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบวัดทักษะการปฏิบัติงาน และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อยุทธศาสตร์การจัดการเรียนรู้ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ชนิดกลุ่มตัวอย่างไม่อิสระกัน (Dependent Samples t-test)

ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพการจัดการเรียนการสอน รายวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ จำแนกเป็น 3 ด้าน คือ ด้านครูผู้สอน ได้แก่ ขาดการอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับการจัดหาสื่อและแหล่งการเรียนรู้ ครูสอนเฉพาะทางไม่เพียงพอ ไม่สนใจความแตกต่างระหว่างบุคคล ไม่จัดกิจกรรมตามกระบวนการสอนที่กำหนดไว้ในแผนการจัดการเรียนรู้ ด้านกระบวนการเรียนการสอน ได้แก่ กระบวนการเรียนการสอนไม่ต่อเนื่อง การวัดและประเมินผลเน้นเนื้อหาตามตำรา มักใช้ข้อสอบแบบเลือกตอบ ให้ความสำคัญกับการวัดและประเมินผลระหว่างเรียนน้อย และด้านนักเรียน ได้แก่ ไม่ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งเรียนรู้อื่นๆ ขาดกระบวนการวิเคราะห์ สังเคราะห์ ไม่สามารถบูรณาการเชื่อมโยงไปยังเนื้อหาสาระอื่นๆ ได้

2. ความต้องการหรือแนวทางการแก้ไขปัญหาการจัดการเรียนการสอนจำแนกเป็น 3 ด้าน คือ ด้านครูผู้สอน ได้แก่ ควรทำหน้าที่เป็นอำนวยความสะดวกมากขึ้น ควรมีการจัดฝึกอบรมครูผู้สอนในรายวิชาที่ขาดแคลนครูเฉพาะทาง คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล และจัดกิจกรรมตามกระบวนการสอนที่กำหนดไว้ในแผนการจัดการเรียนรู้ ด้านกระบวนการเรียนการสอน ได้แก่ จัดการเรียนการสอนให้ต่อเนื่อง และครอบคลุมเนื้อหาในหลักสูตร ใช้วิธีการวัดการประเมินผลที่หลากหลาย และด้านนักศึกษา ได้แก่ ต้องพัฒนาความสามารถในการคิด การวิเคราะห์ การแสวงหาความรู้ การเรียนรู้อย่างต่อเนื่องจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ความสามารถเชื่อมโยงไปยังเนื้อหาสาระในรายวิชาอื่นๆ รวมทั้งปลูกจิตสำนึกให้ผู้เรียนได้เห็นความสำคัญของวิชาชีพพยาบาล

3. ยุทธศาสตร์การจัดการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน มีองค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่ แนวคิดและหลักการ เป้าหมาย กระบวนการจัดการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผล ซึ่งกระบวนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน มี 7 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นนำเสนอสถานการณ์ปัญหา ขั้นวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหา ขั้นกำหนดประเด็นการเรียนรู้ ขั้นสืบหาความรู้ ขั้นนำเสนอความรู้และหาคำตอบ ขั้นขยายความรู้เพิ่มเติมจากคำถามที่เกิดขึ้นใหม่ และขั้นสรุปความรู้ใหม่หาแนวทางที่ดีที่สุด

4. การใช้ยุทธศาสตร์การจัดการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน มีผลทำให้นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 75 ของคะแนนเต็ม

5. หลังการใช้ยุทธศาสตร์การจัดการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน นักศึกษาทุกคนมีทักษะด้านการตรวจเช็คเครื่องมืออุปกรณ์ก่อนการปฏิบัติกับผู้ป่วย การทำความสะอาดอุปกรณ์ เครื่องมือ และการเก็บอุปกรณ์เครื่องมือภายหลังเสร็จสิ้นการปฏิบัติกับผู้ป่วย อยู่ในระดับดี ส่วนใหญ่ปฏิบัติตามขั้นตอนตามทฤษฎีที่เรียนรู้ได้ถูกต้อง และใช้เครื่องมืออุปกรณ์ในการปฏิบัติกับผู้ป่วยได้ถูกต้อง อยู่ในระดับดี ส่วนด้านการเตรียมผู้ป่วยได้ถูกต้อง ทุกคนมีทักษะการปฏิบัติงานอยู่ในระกับพอใช้

6. นักศึกษามีความพึงพอใจต่อยุทธศาสตร์การจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากทั้งในภาพรวม และในแต่ละรายการข้อคำถาม โดยที่ความพึงพอใจสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ครูผู้สอนใช้คำถามกระตุ้นให้นักศึกษาค้นหาคำตอบ การได้อภิปรายและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนๆ ในกลุ่มและในชั้นเรียน และการสามารถนำความรู้ที่เรียนจากบทเรียนไปใช้ ในการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน

Abstract

The objectives of this study were: 1) to Investigate a problem state of instruction on the course ‘Nursing Adults and the Aged’, 2) to create a learning management strategy on the course ‘Nursing Adults and the Aged’, 3) to compare students’ learning achievements, based on a criterion judged, gained before and after learning, 4) to examine students’ practice skill after learning, and 5) to investigate students’ satisfaction of the learning management strategy.

A sample was 53 sophomores enrolled in academic year 2011 Savannakhet Health Science College, Lao People’s Democratic Republic. The study process comprised 4 steps: 1) investigating a problem state, 2) creating a development strategy, 3) implementing the development strategy, and 4) improving and disseminating the development strategy. The instruments used were: 1) learning management plan, 2) participatory workshop, 3) learning achievement test, 4) measure of practice skill, and 5) questionnaire asking satisfaction of the learning management strategy. Qualitative data analysis was done using content analysis. Statistics used for quantitative data analysis were frequency, percentage, standard deviation, and t-test of Dependent Samples.

The finding were:

1. The problem state of instructional management on the course ‘Nursing Adults and the Aged’ comprised 3 aspects: instructor aspect which consists of lacking facilities conducive for providing media and learning sources, having on enough specialized instructors, having on interest in individual difference, activity being done without following the teaching process specified in the learning management plan; instructional process aspect which includes on continuing in instructional process, frequently using a multiple-choice test for measuring and evaluating contents based on the text, stressing little the importance of measuring and evaluating achievement during learning; and student aspect which includes lacking additional study from other learning sources, lacking analysis and synthesis processes, being unable to link or integrate the content and substance with those concerned.  

2. The need or guideline for resolving an instructional problem comprised 3 aspects: instructor aspect which consists of stressing their role as facilitator, training some instructors on the course that lacks a specialist, realizing an individual difference, and doing activity following the instructional process as specified in the written learning management plan; instructional process aspect which includes managing the instruction continuously by covering contents in the curriculum, employing various methods of measurement and evaluation; and student aspect which includes their abilities to develop in thinking, analyzing, searching for knowledge, learning continuously from various learning sources, linking the content and substance learned with those on other courses, being awqre of realizing the importance of nursing professional.

3. The strategy for the problem-based learning management possesses important components of idea and principle, target, learning management process, learning management plan and measurement as well as evaluation. In the problem-based learning management process, there are 7 steps: presentation of the problem situation, problem situation analysis, learning issue determination, knowledge search, presenting knowledge and finding an answer, enlarging knowledge from the newly raised questions, and generalization of new knowledge for finding the best way.

4. Implementation of the problem-based learning management strategy resulted in higher learning achievement after learning of the students than that before their learning at the .01 level of significance. Over 75% of the full score was their gain in achievement after learning.

5. After implementing the problem-based learning management strategy, every student had all these skill at the high level: checking equipment before they gave treatment to the patient, cleaning equipment, tools, and putting away after using with a patient. Most of them had a correct practice according to the learned theory and used equipment and tools in treatment of the patients correctly at the high level. As for the correct preparation of a patient, every student had skill of practice at the moderate level.

6. The students were satisfied with the learning management strategy at the high level both as a whole and each item. The first three highest rankings of satisfaction were: instructors use a question to stimulate students to search for an answer, having a discussion and learning exchange with classmates in group and classroom, and being able to apply the knowledge learned from the lessons to a daily  life problem solution.


ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 126

วันนี้: 1,153

เมื่อวานนี้: 471

จำนวนครั้งการเข้าชม: 826,705

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033