...
...
เผยแพร่: 1 พ.ค. 2561
หน้า: 227-235
ประเภท: บทความวิชาการ
View: 532
Download: 216
Download PDF
สื่อใหม่กับวัยรุ่นไทยใช้อย่างไรให้เกิดประโยชน์
How to Thai adolescent use New media for advantage?
ผู้แต่ง
อาจารย์ลฎาภา ศรีพสุดา, นางสาวสุภาวดี สุวรรณเทน, นายพงศกร ทองพันธุ์
Author
Ladapa Sripasuda, Supawadee Suwannathen, Phongsakorn Thongpan

บทคัดย่อ

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสามารถเปลี่ยนโฉมหน้าของสื่อเก่ากลายเป็นสื่อใหม่ (New Media) ที่ทันสมัยในยุคปัจจุบัน ผู้รับสารสามารถเลือกรับสารที่ตนเองสนใจ มีส่วนร่วมและโต้ตอบกับผู้ส่งสารได้ทันที ทุกที่ ทุกเวลา แค่มีอุปกรณ์เช่นโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบสมาร์ตโฟน แท็บเลต แล็ปท็อป และสัญญาณอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นพลังมหาศาลและสร้างสรรค์ให้สื่อมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว สะดวกสบาย สื่อใหม่นับเป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนให้ไทยแลนด์ก้าวไปสู่ยุค 4.0 มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ซึ่งสื่อใหม่ส่งผลกระทบต่อประเทศทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม รูปแบบการดำเนินชีวิตประจำวัน (lifestyle) ของมนุษย์ที่ต้องแข่งขันกับเวลาให้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะวัยรุ่น การเข้ามาของสื่อใหม่ทำให้วัยรุ่นที่อยู่ในช่วงการศึกษาระดับอุดมศึกษาสามารถสร้างความรู้ด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ พัฒนาความคิด พัฒนาทักษะในการสืบค้น วิเคราะห์และประเมินค่า ตลอดจนการเสริมสร้างความตระหนักในสิทธิของบุคคลและความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างมีจริยธรรม โดยใช้ความคิดอย่างสร้างสรรค์ในการสื่อสาร โดยเลือกแอปพลิเคชันสื่อสังคมออนไลน์ และเว็บไซต์เครือข่ายทางสังคมทั่วไป ตามจุดมุ่งหมายของการใช้งานไม่ว่าจะเป็นการสร้างสังคมเครือข่าย การสืบค้นข้อมูล การนำเสนอ หรือแม้แต่การจัดทำแฟ้มสะสมผลงาน อย่างเช่น ค้นคว้าข้อมูลได้ตลอด 24 ชั่วโมง บนอินเทอร์เน็ต การทำรายงาน การเข้า Google เพื่อค้นหาข้อมูล ใช้แอปพลิเคชั่นต่างๆ ประโยชน์ของสื่อใหม่ คือ เป็นเครื่องมือที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ ทำให้ง่าย สะดวก เหมาะสมกับวัยและความสนใจของวัยรุ่น เพราะมีชีวิตชีวา จากคุณลักษณะและคุณประโยชน์อันมากมายของสื่อใหม่สามารถประยุกต์ใช้ได้ดี แต่ต้องกลั่นกรอง ตรวจสอบความถูกต้องอย่างรู้เท่าทัน เพราะสื่อใหม่มีอิทธิพลสูงและอาจทำให้เกิดผลกระทบด้านลบได้ง่ายหากใช้อย่างไม่ระมัดระวัง เช่น อาจได้รับข้อมูลข่าวสารที่ผิดพลาด ถูกล่อลวงและตกเป็นเหยื่อ ของมิจฉาชีพที่แฝงตัวมา และตกลงไปในกับดักของสื่อใหม่ที่อาจทำให้วัยรุ่นเสพติดสื่อสังคมออนไลน์หมกมุ่นอยู่กับตัวเองในโลกเสมือนจริง

Abstract

The technology revolution were changed old media to “new media”.Receiver has ability to choose message they interested, engage and interact with sender immediately, anywhere, anytime. Just have a device such as smartphone tablet laptop and internet access. A smart device and internet access are the power that can create an effectively fast convenient. New Media is as a tool for nation movement to Thailand 4.0 era. The Thailand 4.0 era has stability, prosperity and sustainability. New media had affect of politics, economics, society, culture and easy life style in a single day are against the time. The arrival of new media, especially for adolescents and young adults that study in school or university, the adolescents can create an effective knowledge by themselves, improve critical thinking, improve search skill, analyze and evaluation including increasing human right awareness and social responsibility. Consequently, the adolescents use creative idea in communication, by selected social network for creating social connection, searching, presenting, even do a portfolio such as searching for information via internet access 24 hour a day, do a report, googling for application. Additionally, new media as a tool for improve learning, easy and convenient, it is suitable for adolescent because new media is so lively. As mentioned above, new media is more advantage and useful but just scrutinize and verify by media literacy. Since new media is great influent, may be cause an negative affect if used inappropriately e.g. receive and incorrect information, victim of the criminal and addict social media, obsessed with yourself in the cyber world.

คำสำคัญ

สื่อใหม่, ผลกระทบสื่อ, ยุค 4.0, วัยรุ่น, การเรียนรู้ด้วยตนเอง

Keyword

new media, affect of media, Thailand 4.0 era, adolescent, self learning
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 24

วันนี้: 573

เมื่อวานนี้: 1,746

จำนวนครั้งการเข้าชม: 970,308

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033