...
...
เผยแพร่: 31 ธ.ค. 2555
หน้า: 105-112
ประเภท: บทความวิจัย
View: 193
Download: 101
Download PDF
การใช้ชิ้นงานอย่างหลากหลายตามกระบวนการเรียนแบบชิ้นงานเป็นฐาน พัฒนาความสามารถการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
Using Task Types of Task- based Learning to Enhance M.5 Writing Ability
ผู้แต่ง
เจริญสุข สุณะไตรย์, พีรานุช ภูษาวิโศจน์, กัณตภณ สำแดงเดช
Author
Charoensook Sunatrai, Pilanut Phusawisot, Kantapon Samdaengdet

บทคัดย่อ

ทักษะการเขียนนับว่ามีบทบาทสำคัญต่อผู้เรียนในการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ผู้วิจัยพบว่าทักษะการเขียนเป็นทักษะที่นักเรียนมีความสนใจน้อยและมีเจตคติที่ไม่ดีต่อทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ วัตถุประสงค์ของการวิจัยในครั้งนี้ ประการแรก เพื่อศึกษาความสามารถทางการเขียนภาษาอังกฤษ โดยใช้กระบวนการสอนแบบชิ้นงานเป็นฐาน และเพื่อศึกษาเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการสอนโดยใช้กระบวนการสอนแบบชิ้นงานเป็นฐานประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นผู้เรียนช่วงชั้นที่ 4 ของโรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้เรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 60 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน เป็นกลุ่มที่จัดการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบของวิลลิส และกลุ่มควบคุม เป็นกลุ่มที่จัดการเรียนรู้แบบปกติ จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางของวิลลิส จำนวน 6 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการทดลอง และแบบประเมินเจตคติ ของนักเรียนกลุ่มทดลอง สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสถิติ t-test (Independent)

ผลการวิจัยพบว่า

1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนระหว่างนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามกระบวนการของวิลลิส แตกต่างจากผู้เรียนที่เรียนแบบปกติอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

2. ความสามารถทางการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมในระหว่างการทดลองทั้ง 6 แผนการจัดการเรียนรู้นั้นมีพัฒนาการสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่นักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางของวิลลิสนั้นมีพัฒนาการสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งสามารถสรุปได้ว่าวิธีการสอนตามแนวทางของวิลลิสสามารถพัฒนาความสามารถทางการเขียนภาษาอังกฤษ ของนักเรียนได้

3. เจตคติของนักเรียนที่มีต่อการจัดเรียนรู้ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางของวิลลิสอยู่ในระดับสูง

Abstract

Writing skill is essential skill for learners of a foreign language. The researcher founded that a majority of students dislike writing and have negative attitude to write an essay. The purposes of this research are to study students’ writing ability after doing task based learning activities and investigate the attitudes of students toward the TBL approach. The subjects consisted 60 students of Matayom Suksa 5 students, Kalasinpitayasan school, Kalasin province in the academic year 2011. The participants selected by means of  purposive sampling technique. The participants in this research were divided into 2 group; 30 students were in the experiment group, and 30 students were in the control group.

The Randomized Pre-test Post-test Control Group Design was carried out in this research. The research instruments consisted of 6 lesson plans using task–based learning activities which implemented through 8 weeks, pre-test and post-test and task based learning activities questionnaires. The data obtained are analyzed by using mean, standard deviation and percentage.

The findings are as follow:

1. The average score of the students who studied with the task–based learning was significantly higher than those of the normal classroom at the .05 level.

2. The development of students’ writing ability after treatment of both experiment group and control group was continually increased. The average score of experiment group learning by task-based learning approach through week 1–week 6 was higher than control group at the .05 level. The instructional model using task types of Willis’ Model can enhance students writing ability.

3. Students’ attitude toward Task based learning activities is at high level.


ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 39

วันนี้: 1,042

เมื่อวานนี้: 471

จำนวนครั้งการเข้าชม: 826,594

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033