...
...
เผยแพร่: 31 ธ.ค. 2555
หน้า: 69-80
ประเภท: บทความวิจัย
View: 157
Download: 222
Download PDF
การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างความรู้และค่านิยมตามคุณลักษณะปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
Development of a Program for Enhancing Knowledge and Value on Philosophy of Sufficiency Economy for Mathayom Suksa 5 Students
ผู้แต่ง
ทรงเกียรติ ชาติชำนิ, ประยูร บุญใช้, วัฒนา สุวรรณไตรย์
Author
Songkiat Chartchumni, Prayoon Boonchai, Watana Suwannatrai

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายคือ 1) เพื่อพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างความรู้และค่านิยมตามคุณลักษณะปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของโปรแกรมเสริมสร้างความรู้และค่านิยมตามคุณลักษณะปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 3) เพื่อเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยโปรแกรมเสริมสร้างความรู้และค่านิยมตามคุณลักษณะปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ระหว่างก่อนและหลังเรียน 4) เพื่อศึกษาค่านิยมตามคุณลักษณะปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยโปรแกรมเสริมสร้างความรู้และค่านิยมตามคุณลักษณะปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนด้วยโปรแกรมเสริมสร้างความรู้และค่านิยมตามคุณลักษณะปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอุ่มเหม้าประชาสรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 ที่สมัครใจเข้าร่วมกิจกรรมตามโปรแกรมนอกเวลาเรียน จำนวน 35 คน และการวิจัยครั้งนี้ใช้แบบแผนการวิจัย One Group Pretest Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แบบประเมินค่านิยมตามคุณลักษณะปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แบบสังเกตพฤติกรรมนักเรียน แบบบันทึกการเรียนรู้ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนด้วยโปรแกรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test แบบ Dependent Samples)

ผลการวิจัยพบว่า

1. โปรแกรมเสริมสร้างความรู้และค่านิยมตามคุณลักษณะปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 5 ที่พัฒนาขึ้น มีลักษณะเป็นโปรแกรมการจัดการเรียนรู้นอกเวลาเรียนและมีองค์ประกอบ ดังนี้ 1) ความเป็นมาและความสำคัญของโปรแกรม 2) แนวคิดทฤษฎีพื้นฐานของโปรแกรม 3) หลักการของโปรแกรม 4) วัตถุประสงค์และเนื้อหาของโปรแกรม 5) กระบวนการของโปรแกรม 6) การวัดและประเมินผลโปรแกรม

2. โปรแกรมเสริมสร้างความรู้และค่านิยมตามคุณลักษณะปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่พัฒนาขึ้น มีค่าประสิทธิภาพ 82.29/84.64 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ประสิทธิภาพที่กำหนด คือ 80/80

3. ความรู้ความเข้าใจปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยโปรแกรมเสริมสร้างความรู้และค่านิยมตามคุณลักษณะปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

4. ค่านิยมตามคุณลักษณะปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยโปรแกรมเสริมสร้างความรู้และค่านิยมตามคุณลักษณะปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อยู่ในระดับมาก

5. ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนด้วยโปรแกรมเสริมสร้างความรู้ และค่านิยมตามคุณลักษณะปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในระดับมากที่สุด

Abstract

The purposes of this research were: 1) to develop a program for Enhancing Knowledge and Value on Philosophy of Sufficiency Economy for Mathayom Suksa 5 Students, 2) investigating the efficiency of the Program on the basis of 80/80, 3) comparing understanding of students before and after learning from the Program 4) studying the students’ value on Philosophy of Sufficiency Economy and 5) investigating the students’ satisfaction.

The sample of this study were 35 Mathayom Suksa 5 students who were willing to study and join the extra activities in the second semester of academic year 2011, at Ummaoprachasan School, under the Office of Mathayom Suksa Educational Service Area 22. The research pattern, One Group Pretest Posttest Design, was used. The research tools used in collecting data were, the test on Philosophy of  Sufficiency Economy, the evaluation form on students’ value concerning Philosophy of Sufficiency Economy, the observation form of students’ behavaiors, the record form on Students’ learning, and the satisfaction questionnaires. The statistics used were percentage, mean, standard deviation and t-test. (Dependent Samples).

The results of this research were:

1. The Program for enhancing knowledge and value on Philosophy of Sufficiency Economy for Mathayom Suksa 5 was appropriate to be used as extra activities for the students. The six elements of the Program were, 1) background and significant, 2) the theories back up the Program, 3) the Program principles, 4) the Program objective, 5) the Program procedures, and 6) measurement and evaluation of the Program.

2. It was found that the Program for Enhancing Knowledge and Value on Philosophy of Sufficiency Economy for Mathayom Suksa 5 was 82.29/84.64 which was higher than the basis criteria set at the beginning.

3. The students’ knowledge and understanding learning from the Program constructed were higher than before the treatment at the .01 statistical significant difference.

4. The students’ value based on Philosophy of Sufficiency Economy were at the high level.

5. The students’ satisfaction on learning from the Program Enhancing Knowledge and Value on Philosophy of Sufficiency Economy for Mathayom Suksa 5 was at the highest level.


ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 26

วันนี้: 0

เมื่อวานนี้: 1,613

จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,602

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033