...
...
เผยแพร่: 31 ธ.ค. 2555
หน้า: 1-12
ประเภท: บทความวิจัย
View: 170
Download: 96
Download PDF
การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวพุทธวิธี เพื่อเสริมสร้างความสามารถ ในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
Development of Instructional Activities Based on Buddhist Model to Enhance Critical Thinking Ability and the Learning Achievement of Social Studies, Religion and Culture Learning Substance Group for Mathayom Suksa 4
ผู้แต่ง
พิศมร สุทธิสาร, ภูมิพงศ์ จอมหงษ์พิพัฒน์, ประยูร บุญใช้
Author
Pisamorn Suttisan, Bhumbhong Jomhongbhibhat, Prayoon Boonchai

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวพุทธวิธี เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวพุทธวิธี เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวพุทธวิธี เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนโดยการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวพุทธวิธี เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนอุ่มเหม้าประชาสรรค์ จำนวน 32 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบเป็นกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวพุทธวิธี จำนวน 10 แผน 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ จำนวน 35 ข้อ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา จำนวน 50 ข้อ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 30 ข้อ ในการวิจัยครั้งนี้ ใช้แบบแผนการทดลองรูปแบบ One Group Pretest–Posttest Design สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย โดยใช้ t–test ชนิด Dependent Samples

ผลการวิจัยพบว่า

1. กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวพุทธวิธี เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ 83.00/81.13 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้

2. นักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวพุทธวิธี เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีคะแนนเฉลี่ยของความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. นักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวพุทธวิธี เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีคะแนนเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

4. นักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวพุทธวิธี เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีความพึงพอใจต่อการเรียนการสอน อยู่ในระดับมาก

Abstract

The purposes of this research were 1) to develop the instructional activities based on Buddhist Model to enhance critical thinking ability and learning achievement of Social Studies, Religion and Culture Substance Group for Mathayom Suksa 4 for the efficiency of 80/80, 2) to compare critical thinking abilities and the learning achievement before and after the students were taught through the developed instructional activities based on Buddhist Model, 3) to compare learning achievement of Mathayom Suksa 4 students between before and after learning through the developed instructional activities based on Buddhist Model and 4) to study the satisfaction of Mathayom Suksa 4 students learning through the developed instructional activities on Buddhist Model. The sampling group consisted of 32 Mathayom Suksa 4 students of Ummaoprachasan School in the second semester of academic year 2011. The samples were selected by Cluster Random Sampling. The instruments used in this research consisted of 1) 10 lesson plans of the instructional activities based on Buddhist Model, 2) 35 items of the discrete on critical thinking test, 3) 50 items of the achievement test, 4) 30 items of the satisfaction of Mathayom Suksa 4 students.

The research revealed the following results:

1. The instructional activities based on Buddhist Model to enhance critical thinking and the learning achievement of Social Studies had the efficiency of 83.00/81.13 which was higher than standard criterion.

2. The students’ discrete on critical thinking abilities after they had been taught through the instructional activities based on Buddhist Model to enhance critical thinking and the learning achievement of Social studies were higher than before at the .01 level of significance.

3. The average achievement score after learning through the instruction activities based on Buddhist Model for critical thinking and the learning achievement of Social Studies was higher than before at the .01 level of significance.

4. After the students had learned through the instructional activities based on Buddhist Model for critical thinking and the learning achievement of Social Studies, their satisfaction was at the high level.


ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 150

วันนี้: 1,280

เมื่อวานนี้: 471

จำนวนครั้งการเข้าชม: 826,832

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033