...
...
เผยแพร่: 30 เม.ย. 2556
หน้า: 215-226
ประเภท: บทความวิจัย
View: 199
Download: 218
Download PDF
การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
Development of the Learning Activities using Problem-Based Learning Entitled “Lives and Environment” on Science Learning Substance Group for Prathomsuksa 6
ผู้แต่ง
เพชราภรณ์ หอมสร้อย, ถาดทอง ปานศุภวัชร
Author
Petcharaporn Homsoy, Thadthong Pansuppawat

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลักให้ได้ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 4) ศึกษาระดับความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนการสอนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหนองหอยคำอ้อม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 21 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ดำเนินการวิจัยโดยใช้แผนการวิจัยแบบ One Group Pretest–Posttest Design สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์เปรียบเทียบข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t–test แบบ Dependent Samples)

ผลการวิจัยพบว่า

1. ประสิทธิภาพของกิจกรรมการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ กล่าวคือ ประสิทธิภาพด้านกระบวนการ (E1) มีค่าเท่ากับ 85.40 ประสิทธิภาพด้านผลลัพธ์ (E2) มีค่าเท่ากับ 86.19

2. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 คิดเป็นร้อยละ 83.43 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ 75

3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01

4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Abstract

The purposes of this study were: 1) to Development of the Learning Activities using Problem–Based Learning Entitled “Lives and Environment” on Science Learning Substance Group for Prathom Suksa 6 to meet the criteria of 80/80, 2) to investigate the students’ science process skills, 3) to compare the students’ learning achievements on Science Learning Substance Group in Entitled “Lives and Environment” before and after learning through problem–based learning, 4) to study students’ satisfaction towards Problem–Based Learning Entitled “Lives and Environment”. The sampling group was 21 students of on prathomsuksa 6. Students selected by using purposive sampling at Ban Nonghoykhomaom School in the first semester of academic year 2012. The research was One Group Pretest–Posttest Design. The data were analyzed by percentage (%) mean (\bar{x}), standard deviation (S.D.) and the statistic used was t-test (Dependent Samples).

The study unveiled the following results :

1. The learning Development of the Learning Activities using Problem–Based Learning Entitled “Lives and Environment” on Science Learning Substance Group for Prathomsuksa 6 had their efficiency of 85.40/86.19 which was higher than the set criteria of 80/80.

2. The science process skills after being taught by Problem–Based Learning Approach was 83.43 which was higher than the set criteria of 75%.

3. The students’ learning achievement in Entitled “Lives and Environment” was higher than before learning through problem–based learning at the .01 level of significance.

4. The students’ satisfaction towards problem-based learning in Entitled “Lives and Environment”  was a highest level.


ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 58

วันนี้: 0

เมื่อวานนี้: 1,319

จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,308

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033