บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว รายวิชาประเพณีไหลเรือไฟเต่างอย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลเต่างอย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 2) ศึกษาประสิทธิภาพของหลักสูตรภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว รายวิชาประเพณีไหลเรือไฟเต่างอย ชั้นประถม ศึกษาปีที่ 6 ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 75/75 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังเรียนตามหลักสูตร และ 4) เปรียบเทียบเจตคติของนักเรียนต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษก่อนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนอนุบาลเต่างอย จำนวน 30 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 โดยสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ในการวิจัยครั้งนี้ใช้แบบแผนการวิจัยแบบ One Group Pretest–Posttest Design สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ t–test (Dependent Samples)
การพัฒนาหลักสูตร ประกอบด้วยขั้นตอน ดังนี้ 1) ขั้นศึกษาข้อมูลพื้นฐาน 2) ขั้นพัฒนาหลักสูตร 3) ขั้นนำหลักสูตรไปใช้ 4) ขั้นประเมินและแก้ไขปรับปรุงหลักสูตร
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการพัฒนาหลักสูตรภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว รายวิชาประเพณีไหลเรือไฟเต่างอย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลเต่างอย ผลการประเมินมีค่าเท่ากับ 4.56 ซึ่งแสดงว่าหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมในระดับ มากที่สุด
2. หลักสูตรภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว รายวิชาประเพณีไหลเรือไฟเต่างอย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ 80.20/76.06 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ประสิทธิภาพที่กำหนดไว้ คือ 75/75
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนตามหลักสูตรภาษา อังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว รายวิชาประเพณีไหลเรือไฟเต่างอย หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. นักเรียนมีเจตคติต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Abstract
The purposes of this research were 1) to develop an English curriculum for Tourism entitled “Lai Ruea Fai Tao Ngoi” for Prathom Suksa 6 at Anuban Tao Ngoi School under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 1 2) to investigate the efficiency of the English Curriculum to meet the standard efficiency of 75/75 3) to compare the students, leaning achievement through this curriculum and 4) to compare the students, attitudes toward leaning English. The sampling group, obtained through cluster random sampling technique, were 30 students of the Prathom Suksa 6/1 at Anuban Tao Ngoi school in the second semester of the 2012 academic year. The research was One Group Pretest-Posttest design. The statistic used in analyzing data were mean, standard deviation, and t-test (Dependent Samples).
The curriculum was developed through 4 stages as follows: 1) Fundamental Data Investigation 2) Curriculum Development 3) Curriculum Implementation 4) Evaluation and Revision.
The Findings were as follow :
1. The developed course curriculum was at the highest level of the appropriateness ( = 4.56).
2. The efficiency of the developed curriculum was at 80.20/76.06 which was higher than the standard criteria of 75/75.
3. The posttest mean scores of the students, learning achievement after the intervention the students were higher than that of their pretest mean scores at the .01 level of significance.
4. The posttest mean scores of students, attitudes towards English learning was higher than that of their pretest mean scores was at the .01 level of significance.
กำลังออนไลน์: 55
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 1,333
จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,322
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033