...
...
เผยแพร่: 30 เม.ย. 2556
หน้า: 165-175
ประเภท: บทความวิจัย
View: 163
Download: 70
Download PDF
การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมัลติมีเดีย เรื่อง “การเรียนรู้อาเซียน ผ่านภาษาอังกฤษ” เพื่อเสริมสร้างความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษ เพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
Development of the Multimedia Computer Assisted Instruction Entitled “Learning ASEAN through English” to Enhance English Reading Comprehension Ability of Mathayom Suksa 5 students
ผู้แต่ง
ชยกร สุตะโคตร, วิจิตรา วงศ์อนุสิทธิ์
Author
Chayakorn Sutakote, Vijittra Vonganusith

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและตรวจสอบประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมัลติมีเดีย เรื่อง “การเรียนรู้อาเซียนผ่านภาษาอังกฤษ” เพื่อเสริมสร้างความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ตามเกณฑ์ 75/75 2) ศึกษาประสิทธิผลของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมัลติมีเดีย ตามเกณฑ์ดัชนีประสิทธิผลตั้งแต่ร้อยละ 50 3) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมัลติมีเดีย 4) ศึกษาความพึงพอใจของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมัลติมีเดีย เรื่อง “การเรียนรู้อาเซียนผ่านภาษาอังกฤษ” เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 1 ห้องเรียน 45 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง ซึ่งเป็นนักเรียนที่เรียนรายวิชา ภาษาอังกฤษ อ่าน-เขียน รหัสวิชา อ33211

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมัลติมีเดีย เรื่อง “การเรียนรู้อาเซียนผ่านภาษาอังกฤษ” เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนและ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจในการเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมัลติมีเดีย

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test ชนิด Dependent Samples

ผลการวิจัย พบว่า

1. ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมัลติมีเดีย ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.48/82.07 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ 75/75

2. ประสิทธิผลของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมัลติมีเดีย ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีดัชนีประสิทธิผลร้อยละ 69

3. ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนที่เรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์  ช่วยสอนมัลติมีเดีย หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมัลติมีเดีย โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Abstract

The purposes of this research were: 1) to develop a Multimedia Computer Assisted Instruction to meet a standard efficiency of 75/75, 2) investigate the effectiveness of the Multimedia Computer Assisted Instruction, with a 50 percent efficiency goal set, 3) compare the students’ achievements before and after learning through the Multimedia Computer Assisted Instruction, and 4) investigate the students’ satisfaction toward the developed Multimedia Computer Assisted Instruction.

The samples, obtained through purposive sampling technique, were 45 Mathayom Suksa 5 students who studied the English 33211 Reading-Writing course during the second semester of the academic year 2012. The research instruments were as follows: 1) the Multimedia Computer Assisted Instruction entitled “Learning ASEAN through English” to enhance English reading comprehension ability of Mathayom Suksa 5 students, 2) a learning achievement test, and 3) a questionnaire of satisfaction measurement toward the developed Multimedia Computer Assisted Instruction. Statistics used to analyze the data were means, standard deviation, percentage and t-test (Dependent Samples).

The findings were as follows :

1. The efficiency of the developed Multimedia Computer Assisted Instruction had a value at 80.48/82.07 which was higher than the set value of 75/75.

2. The effectiveness of the developed Multimedia Computer Assisted Instruction had a value of 69 percent.

3. After the intervention, the students had higher mean scores than that of before at a .01 level of significance.

4. The average scores of students’ satisfaction toward the developed Multimedia Computer Assisted Instruction was at the highest level.


ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 96

วันนี้: 1,112

เมื่อวานนี้: 471

จำนวนครั้งการเข้าชม: 826,664

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033