...
...
เผยแพร่: 30 เม.ย. 2556
หน้า: 153-164
ประเภท: บทความวิจัย
View: 219
Download: 96
Download PDF
การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้กลวิธีสตาร์ท ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
Development of the English Reading Comprehension Instructional Activities based on START Strategy for Mathayom Suksa 5
ผู้แต่ง
กฤษฎากร เกริกกานต์กุล, วิจิตรา วงศ์อนุสิทธิ์
Author
Kristsadakorn Krergkankul, Vijittra Vonganusith

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้กลวิธีสตาร์ท ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 75/75 2) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้กลวิธีสตาร์ท 3) ศึกษาเจตคติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้กลวิธีสตาร์ท กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนโพธิแสนวิทยา อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 จำนวน 40 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกใช้แบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้กลวิธีสตาร์ท ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ แบบวัดเจตคติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ยค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในการวิจัยครั้งนี้ใช้แบบแผนการวิจัยแบบกลุ่มเดียว ทดสอบก่อนและหลังเรียน (One Group Pretest–Posttest Design) สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การทดสอบแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (Dependent Samples t–test)

ผลการวิจัยพบว่า

1. ประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้กลวิธีสตาร์ท ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 76.81/76.63 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 75/75

2. ความสามารถทางการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้กลวิธีสตาร์ท ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. นักเรียนมีเจตคติต่อการเรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ  โดยใช้กลวิธีสตาร์ท ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังการเรียน มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.55 ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุด

Abstract

The purposes of this research were to 1) investigate the efficiency of the English Reading Comprehension Instructional Activities based on START Strategy for Mathayom Suksa 5, to meet the standard efficiency of 75/75, 2) compare the students’ learning achievement before and after the intervention, 3) investigate the students’ abilities in English reading comprehension, and 3) examine the students’ attitudes towards learning through the developed English Reading Comprehension Instructional Activities based on STRAT Strategy. The samples, obtained through cluster random sampling techniques, were 40 Mathayom Suksa 5/1 students of Photisan Wittaya School in the second semester of the academic year 2012. The research instruments were English learning plans of the English Reading Comprehension Instructional Activities based on START Strategy for Matayom Suksa 5, an English learning achievement test, and a set of attitude questionnaire towards English instruction.

The One-Group Pretest-Posttest design was utilized. The statistics used in analyzing data were percentage, mean, standard deviation, and t-test (Dependent Samples).

The findings were as follows :

1. The English Reading Comprehension Instructional Activities based on START Strategy for Mathayom Suksa 5 had the efficiency of 76.81/76.63, which was higher than the set criteria of 75/75.

2. After the intervention, the students’ posttest average scores were higher than their pretest scores at a .01 level of significance.

3. The average scores of the students’ attitudes towards English instruction after learning through the English Reading Comprehension Instructional Activities based on START Strategy for Mathayom Suksa 5 were at the highest level at mean scores of 4.55.


ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 141

วันนี้: 1,367

เมื่อวานนี้: 471

จำนวนครั้งการเข้าชม: 826,919

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033