...
...
เผยแพร่: 30 เม.ย. 2556
หน้า: 109-118
ประเภท: บทความวิจัย
View: 150
Download: 81
Download PDF
การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่องลุ่มน้ำยาม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านเซือม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3
Development of an Integrated Learning unit Entitled Nam-Yam Basin for Prathom Suksa 6 Students of Ban Suam School under the Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 3
ผู้แต่ง
อดิศร ศรีดสพล, ประยูร บุญใช้, ภูมิพงศ์ จอมหงษ์พัฒน์
Author
Adisorn Sridapon, Prayoon Boonchai, Bhumbhong Jomhongbhibhat

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่องลุ่มนํ้ายาม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านเซือม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของหน่วยการเรียนแบบบูรณาการตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 75/75 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างก่อนและหลังเรียนด้วยหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ 4) เพื่อเปรียบเทียบเจตคติต่อการอนุรักษ์ลุ่มน้ำยามของนักเรียนระหว่างก่อนและหลังเรียนด้วยหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนบ้านเซือม จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรูแบบบูรณาการ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบวัดเจตคติต่อการอนุรักษ์ลุ่มนํ้ายาม 4) บันทึกการเรียนรู้ โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการทดสอบค่า (t–test) แบบ Dependent Samples

ผลการวิจัยพบว่า

1. หน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่องลุ่มน้ำยาม มีลักษณะเป็นหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ มีองค์ประกอบสำคัญ คือ ความสำคัญ เป้าหมาย แนวการปฏิบัติกิจกรรม สื่อและแหล่งการเรียนรู้และการวัดผลประเมินผล และจากผลการประเมินความเหมาะสมของหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการและเอกสารประกอบหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่องลุ่มนํ้ายาม โดยผู้เชี่ยวชาญ ปรากฏว่า หน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการและเอกสารประกอบหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก

2. หน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่องลุ่มนํ้ายาม มีประสิทธิภาพของกระบวนการและประสิทธิภาพของผลลัพธ์ มีค่าเท่ากับ 79.86/80.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ประสิทธิภาพที่ตั้งไว้ คือ 75/75

3. นักเรียนที่เรียนด้วยหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่องลุ่มนํ้ายาม มีผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตติที่ระดับ .01

4. นักเรียนที่เรียนด้วยหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่องลุ่มนํ้ายาม มีเจตคติต่อการอนุรักษ์ลุ่มนํ้ายามหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Abstract

The purposes of research were : 1) to develop an integrated larning unit Entitled “Nam-Yam Basin” for Prathom Suksa 6 Students of Ban Suam School under the Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 3, 2) to study the efficiency of the developed integrated larning unit on criterion of 75/75, 3) to compare the students’ learning achievement between before and after they had learnt through the developed integrated learning unit, and 4) to compare the students attitude before and after they had learnt through the developed integrated learning unit.

The subjects were 30 Prathom Suksa 6 students in the second semester of academic year 2011 at Ban Suam School. The instruments used in this study were: 1) a learning plan on the Nam-Yam Basin, 2) a learning achievement test, 3) a test of attitude on wisdom conservation of “Nam-Yam Basin”, and 4) a student’s journal. The data were analyzed by using the t-test (Dependent Samples).

The results of this research were as follows :

1. The an integrated larning unit Entitled “Nam-Yam Basin” consisted of integrated units of 8 lenrning substances which comprised major elements : rationale, goals, learning management, learning materials, and learning measurement and evaluation. And the evaluation of integrated learning units appropriation Entitled “Nam-Yam Basin” by the experts revealed that the integrated learning unit and supplementary teaching documents were suitable at the hith level.

2. The efficiency of the developed integrated learning unit was higher than the basis set at the beginning (79.86/80.00) which was higher than the specified criterion of 75/75.

3. The posttest average score of learning achievement of the students learning through the developed integrated learning unit was higher than those of their pretest at the .01 level of significace.

4. The posttest average score of students’ attitudes on the developed integrated learning unit after learning were higher than those of their pretest at the .01 level of significance.


ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 127

วันนี้: 1,186

เมื่อวานนี้: 471

จำนวนครั้งการเข้าชม: 826,738

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033