...
...
เผยแพร่: 30 เม.ย. 2556
หน้า: 97-107
ประเภท: บทความวิจัย
View: 598
Download: 164
Download PDF
การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการคิดวิเคราะห์และความสามารถในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับผังกราฟิก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
A Comparison of Learning Achievements, Analytical Thinking Abilities and Science Project Application Abilities Using the Model Inquiry Method (5E) in Conjunction with Concept Mapping for Mathayom Suksa 3 Students
ผู้แต่ง
ละมัย วงคำแก้ว, อมรา เขียวรักษา, มารศรี กลางประพันธ์
Author
Lamai Wongkumkaew, Umara Kiewrugsa, Marasri klangprapan

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับผังกราฟิก ด้านพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับผังกราฟิก ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ความสามารถในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนหนองทุ่มวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 32 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบวัดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้วิธีสอน แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับผังกราฟิก หน่วยการเรียนรู้ ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ แบบประเมินความสามารถในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพของกระบวนการ E1 ประสิทธิภาพของผลลัพธ์ E2 สถิติทดสอบ ค่าที t–test แบบ (Dependent Samples), t–test (One Samples) การวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณทางเดียว (One–way MANOVA) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One–way ANOVA)

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1. แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับผังกราฟิกที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.01/83.13 ซ่งึ สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้

2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับผังกราฟิก สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ หลังเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับผังกราฟิก สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับผังกราฟิก มีความสามารถในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ มีคะแนนเฉลี่ย ร้อยละ 76.84 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์เป้าหมายที่กำหนดไว้ คือร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

5. จากการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณทางเดียว (One–Way MANOVA) พบว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์แตกต่างกัน หลังเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับผังกราฟิก มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลจากการวิเคราะห5ความแปรปรวนทางเดียว (One–Way ANOVA) พบว่า นักเรียนที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธ์ิแตกต่างกัน มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนักเรียนที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์สูง จะมีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สูงกว่านักเรียนที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ปานกลางและต่ำนักเรียนที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์แตกต่างกัน มีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนักเรียนที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์สูงจะมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการคิดวิเคราะห์สูงกว่านักเรียนที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ปานกลาง และต่ำ

Abstract

The study aimed to investigate the effects of learning management using the Model Inquiry Method (5E) in Conjunction with Concept Mapping in developing the Model Inquiry Method (5E) in association with Concept Mapping as the standard set of 80/80, learning achievements, analytical thinking abilities and science project application abilities of Mathayom Suksa 3 students. The samples consisted of 32 Mathayom Suksa 3 students in the second semester of academic year 2011 at Nong Thum Witthaya School under the Office of Bueng Kan Primary Educational Service Area, selected by cluster random sampling. Tools used in this study were : a test to measure achievement motivation, lesson plans using the Model Inquiry Method (5E) in cooperation with Concept Mapping in the unit titled “Life and Environment”, a test of learning achievements, a test of analytical thinking abilities, an assessment from of science project application abilities. Data were statistically analyzed using mean, standard deviation, E1/E2, t-test (Dependent Samples), t–test (One Samples), One-Way MANOVA, and One-Way ANOVA.

The findings of this study were as follows :

1. The effectiveness of the lesson plans using the Model Inquiry Method (5E) in conjunction with Concept Mapping was 85.01/83.13 which was higher than the set standard of 80/80.

2. The students in Mathayom Suksa 3 gained higher learning achievements after learning using the Model Inquiry Method (5E) in cooperation with Concept Mapping at the .05 level of significance.

3. There was a difference in the analytical thinking abilities of the students after being taught by the Model Inquiry Method (5E) in association with Concept Mapping higher than prior to learning at the .05 level of significance.

4. The students in Mathayom Suksa 3 who were taught by the Model Inquiry Method (5E) in collaboration with Concept Mapping attained science project application abilities which passed the level of 70 % showing a mean score of 76.84 % at the .05 level of significance.

5. According to Multiple One-Way Analysis of Variance (One-way MANOVA), it was found that the students in Mathayom Suksa 3 with different achievement motivation after being taught by the Model Inquiry Method (5E) in conjunction with Concept Mapping gained learning achievements and analytical thinking abilities, with significant difference at the .05 level. In addition, One-Way Analysis of Variance (One-Way ANOVA) indicated that : The average scores among the students with different achievement motivation were statistically significant at the .05 level. The students with higher achievement motivation gained the learning achievement scores higher than those students with moderate and low achievement motivation. The average scores of the analytical thinking abilities of the students with different achievement motivation were statistically significant at the .05 level. The students with the high achievement motivation gained higher analytical thinking ability scores higher than those students with the moderate and low analytical thinking abilities respectively.


ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 135

วันนี้: 1,232

เมื่อวานนี้: 471

จำนวนครั้งการเข้าชม: 826,784

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033