...
...
เผยแพร่: 30 เม.ย. 2556
หน้า: 61-72
ประเภท: บทความวิจัย
View: 131
Download: 94
Download PDF
การพัฒนาศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาด้านการอ่านและการเขียน ของนักเรียนโรงเรียนบ้านโพนก่อ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3นคร เขต 3
Development of the Teachers Competency in Learning Management to Solve the Problems on Reading and Writing of Prathom Suksa Students at Ban Phon Ko School under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 3
ผู้แต่ง
เสกสันต์ จูมจันทา, สวัสดิ์ โพธิวัฒน์, ธวัชชัย ไพใหล
Author
Selsan Joomjanta, Sawat Pothivat, Tawatchai Pailai

บทคัดย่อ

การวิจัยปฏิบัติการครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อแก้ปัญหาด้านการอ่านและการเขียนของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา, 2) หาแนวทางการพัฒนาศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาด้านการอ่านและการเขียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา และ 3) ติดตามผลการพัฒนาศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนเพื่อแก้ปัญหาด้านการอ่านและการเขียนของนักเรียนมีวิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน (Planning) การปฏิบัติการ (Action) การสังเกตการณ์ (Observation) และการสะท้อนกลับ (Reflection) ดำเนินการ 2 วงรอบ โดยมีกลุ่มผู้ร่วมวิจัย คือ ครูผู้สอน 4 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน ในโรงเรียนบ้านโพนก่อ จำนวน 5 คน นักเรียนที่มีปัญหาในการอ่านและการเขียน จำนวน 6 คน ผู้ปกครองนักเรียนที่มีปัญหาในการอ่านและการเขียน จำนวน 6 คน รวมทั้งสิ้น 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบประเมิน แบบสังเกตและแบบสอบถาม การวิเคราะห์เชิงปริมาณใช้สถิติหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1. สภาพเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ ครูได้มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาด้านการอ่านและการเขียนของนักเรียนตามโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน ครูได้จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติคิดเป็น ทำเป็น แก่ปัญหาเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่องสำหรับปัญหาที่สำคัญเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ ครูมีความรู้ความเข้าใจ ทักษะ กระบวนการ วิธีการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ และการจัดการเรียนรู้ค่อนข้างน้อยไม่เพียงพอ นักเรียนที่มีปัญหาในการอ่านและการเขียน จำนวน 6 คน ซึ่งเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6

2. แนวทางการพัฒนาศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาด้านการอ่านและการเขียนของนักเรียน ได้แก่ ผู้วิจัยและผู้ร่วมการวิจัยไปศึกษาดูงานโรงเรียนต้นแบบที่ประสบผลสำเร็จการจัดการเรียนรู้ในการอ่านและการเขียน และประชุมเชิงปฏิบัติการด้านเขียนแผนการจัดการเรียนรู้และด้านการจัดการเรียนรู้ และใช้การนิเทศแบบให้คำชี้แนะ

3. ผลการติดตามผลการพัฒนาศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนเพื่อแก่ปัญหาด้านการอ่านและการเขียนของนักเรียน พบว่า ครู จำนวน 4 คน มีความรู้ความเข้าใจ ทักษะกระบวนการ สามารถเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ได้เหมาะสมคิดเป็นร้อยละ 100 ทำให้ครูสามารถเตรียมแผนการจัดการเรียนรู้ไปวางแผนในการจัดการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาด้านการอ่านและการเขียนของนักเรียนได้ ส่วนด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ พบว่า นักเรียน จำนวน 6 คน ที่มีปัญหาด้านการอ่านและการเขียน สามารถอ่านและเขียนได้ถูกต้องร้อยละ 100

Abstract

The purposes of this action research were to 1) investigate the conditions and problems about learning management to solve the problems on reading and writing of Prathom Suksa students, 2) seek for guidelines of the development of the teachers’ competency in learning management to solve the problems on reading and writing of Prathom Suksa students, and 3) follow up the effects of the teachers’ competence in learning management to solve the problems on reading and writing of Prathom Suksa students. Participatory action research of 2 spirals comprising 4 stages : planning, action, observation and reflection was employed. The population comprised the researcher group consisting of the researcher and 4 teachers as the co-researchers. The informants included the school administrator, 5 teachers, 6 students with reading and writing problems and 6 parents/guardians of those students with reading and writing problems-a total of 16 participants. Data were collected by a form of interview, an evaluation form, a form of observation and a set of questionnaires. The analysis of quantitative data was done through mean, percentage and standard deviation. Qualitative data were analyzed by Content Analysis. The findings of this study were as follows :

1. The conditions regarding learning management to solve the problems on reading and writing of Prathom Suksa students at Ban Phon Ko School revealed that the teachers organized an activity to solve problems in reading and writing based on the project to improve the quality of the students. The teachers organized the activities to make the students learn from hands-on experience. Practical training was done to let the students be capable of knowing how to think, how to work and how to solve problems along with reading habits and eagerness to learn continuously. The problems concerning learning management indicated that the teachers obtained quite low skills, processes and methods of writing lesson plans on learning management. The 6 students faced with the reading and writing problems were from Prathom Suksa 1-6.

2. The guidelines on the development of the teachers’ potential in learning management to solve the problems on reading and writing of Prathom Suksa students were composed of these aspects: 1) The study tour of a role model school based on best practice on the solution of reading and wrting problems, 2) workshops of the writing of lesson plans on learning management along with learning management, and 3) coaching supervision.

3. The effects of the development of the teachers’ potentiality in learning management to solve the problems on reading and writing of Prathom Suksa students at Ban Phon Ko School showed that all of the 4 teachers gained knowledge,understanding and skills to write suitable lesson plans at 100 percent. This made the treachers be able to prepare themselves on writing lesson plans to be applied in learning management. In case of learning activity application,it was found that the problems encountered by the 6 students on reading and writing problems were solved. They all could read and write 100 percent correctly.


ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 135

วันนี้: 1,249

เมื่อวานนี้: 471

จำนวนครั้งการเข้าชม: 826,801

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033