...
...
เผยแพร่: 30 เม.ย. 2556
หน้า: 43-59
ประเภท: บทความวิจัย
View: 118
Download: 84
Download PDF
การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โรงเรียนประถมสามัคคี เมืองไกสอนพมวิหาน แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Participatory Action Research of Developing the Teachers Potential on learning Management Focusing on the Learner centered Approach at Samaky Primary School in Kaysonephomvihanh District, Savannakhet, Lao Peoples Democratic Regublic
ผู้แต่ง
สมหวัง สอนวิเชียน, เพลินพิศ ธรรมรัตน์
Author
Somvang Sonevixianh, Ploenpit Thummarat

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ใช้หลักการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โรงเรียนประถมสามัคคี เมืองไกสอนพมวิหาน แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 2) หาแนวทางการพัฒนาครูศักยภาพครูในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โรงเรียนประถมสามัคคี เมืองไกสอนพมวิหาน แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 3) ติดตามผลในการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โรงเรียนประถมสามัคคี เมืองไกสอนพมวิหาน แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยดำเนินการ 2 วงรอบ แต่ละวงรอบ ประกอบด้วย การวางแผน (Planning) การปฏิบัติการ (Action) การสังเกตการณ์ (Observing)
และการสะท้อนผล (Reflection) กลุ่มผู่ร่วมวิจัย จำนวน 11 คน ได่แก่ ผู้วิจัย และกลุ่มผู้ร่วมวิจัยเป็นครูผู้สอนในโรงเรียนประถมสามัคคี เมืองไกสอนพมวิหาน จำนวน 10 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได่แก่ วิทยากร 1 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได่แก่ แบบทดสอบ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และแบบสังเกต การตรวจสอบข้อมูล ใช้หลักการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า (Triangulation Technique) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได่แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการพรรณนา

ผลการวิจัย พบว่า

1. สภาพและปัญหาการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีดังนี้

1.1 สภาพ พบว่า การใช้สื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีทางการศึกษา และการให้ขวัญกำลังใจครู การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูส่วนใหญ่นำแผนไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญอยู่ในเกณฑ์น้อย

1.2 ปัญหา พบว่า ครูส่วนใหญ่ขาดความรู้ความเข้าใจในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การเขียนแผนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การเรียนรู้ไม่หลากหลาย บุคลากรขาดการอบรมพัฒนาด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

2. แนวทางการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โรงเรียนประถมสามัคคี เมืองไกสอนพมวิหาน แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยใช้แนวทางการพัฒนา 2 แนวทาง คือ 1) การประชุมเชิงปฏิบัติการ 2) การนิเทศภายใน

3. ผลการติดตามและประเมินผลการพัฒนาศักยภาพครูด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ประกอบด้วย การประเมินแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การสังเกตพฤติกรรมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครู การสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน การประเมินการนิเทศภายในสะท้อน
ข้อมูลย้อนกลับของการนิเทศ รวมทั้งการอบรมเชิปฏิบัติการ พบว่า ครูสามารถเขียนแผนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญถูกต้องตามรูปแบบ สอดคล้องกับสาระสำคัญ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง และสาระการเรียนรู้ระบุพฤติกรรมที่สามารถวัดได้ประเมินได้ เสริมสร้างให้เกิดทักษะความรู้ ความเข้าใจแก่ผู้ร่วมวิจัย และมีพฤติกรรมที่กำหนดให้อย่างครบถ้วน มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ครูสามารถใช้วัสดุในท้องถิ่นผลิตสื่อ และนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อให้เหมาะสมกับวัย ความสนใจ ความสามารถผู้เรียนใช้วิธีวัดและเครื่องมือวัดผล ให้สอดคล้องกับพฤติกรรมที่กำหนดไว้ในผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

Abstract

This participatory action research 1) to study the situation and problem of learning. This study used participatory action research (PAR), aimed to 1) investigate the current states and problems of learning management emphasized ot the learner-center approach at Samaky primary school, 2) find out guidelines for developing the teacher’s potential on learning management focusing on the learnercentered approach at Samaky primary School, and 3) monitor the development of teacher’s competence with an emphasis on the learner-centered approach at Samaky primary School, Savannakhet Province, Lao PDR A2 spiral PAR of 4) phaseseach usedincluded : planning, action, observing and reflection. The target group consisted of there asearcher, 10 co-reasearchers and resource person as the informant. The tools used were composed of a test, a fom of interview a set of gueation naires and a form of observation. To verify data Triangulation Technigue was employed. Quantitative data were analyzed using mean and standard devition. Content Analysis was applied to analyze qualitative data informe of a descriptive analysis.

The findings of this study were as follows :

1. state that the use of innovative educational technologies. And teacher morale. Learning activities of students, most teachers plan to use in learning activities, students are placed in the least.

2. The problem that most teachers lack the knowledge and understanding of the learning activities that focus on learning is important. The plan focuses on student learning center is important. To learn a variety. Lack of trained personnel and management learner is learning. Two. Guidelines for teachers to develop programs that focus on students as the school. Concord Elementary School. I teach the city a shot in the North. District Savannakhet area. Laos the development of two ways: 1) the workshop. 2) Supervision.

3. Results of monitoring and evaluation, teacher development and student learning is important. Which include of lesson plans that focus on learning key Behavior and teacher learning. The observation of student learning. Supervision of the feedback of teachers as well as workshops that teachers can plan learning activities in the correct format. The essence. Learning outcomes expected. And learning a behavior that can be measured and evaluated. Comprehensive range of behavioral and cognitive skills, and enhance the range of mental skills, knowledge and behaviors required to complete. In addition, teachers and the materials available in local media. The technology used to manage student learning is important. Age appropriate to the learners.How to measure and evaluate the behavior defined in the expected learning outcomes. Overall, the highest level.


ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 147

วันนี้: 1,363

เมื่อวานนี้: 471

จำนวนครั้งการเข้าชม: 826,915

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033