...
...
เผยแพร่: 30 เม.ย. 2556
หน้า: 15-27
ประเภท: บทความวิจัย
View: 141
Download: 71
Download PDF
การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมการพัฒนาและการบริหารจัดการกลุ่มอาชีพ ทอผ้ามัดหมี่โทเรสู่ความเป็นหลักสูตรปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษา
Participatory action research development and management group Toray ground material into the curriculum of the educational philosophy of sufficiency economy
ผู้แต่ง
สหพล ยะภักดี, หาญชัย อัมภาผล, ธวัชชัย ไพใหล
Author
Sahapol Yaphadee, Hanchai Aupaphon, Tawatchaie Pailai

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารจัดการกลุ่มอาชีพทอผ้ามัดหมี่โทเรสู่ความเป็นต้นแบบหลักสูตรปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา 2) หาแนวทางพัฒนาการบริหารจัดการกลุ่มอาชีพทอผ้ามัดหมี่โทเรสู่ความเป็นต้นแบบหลักสูตรปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา 3) ผลการพัฒนาการบริหารจัดการกลุ่มอาชีพทอผ้ามัดหมี่โทเรสู่ความเป็นต้นแบบหลักสูตรปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) ดำเนินการ 2 วงรอบ แต่ละวงรอบประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน การปฏิบัติการ การสังเกต และการสะท้อนกลับ กลุ่มเป้าหมายของการวิจัยครั้งนี้ คือ กลุ่มผู้ร่วมวิจัย จำนวน 19 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 26 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมิน แบบสังเกต และแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละความก้าวหน้า การตรวจสอบข้อมูลเชิงคุณภาพผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) จัดหมวดหมู่ของเนื้อหาและนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนาวิเคราะห์

ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพและปัญหาการบริหารจัดการกลุ่มอาชีพทอผ้ามัดหมี่โทเรสู่ความเป็นต้นแบบหลักสูตรปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา พบว่า

1.1 สภาพการบริหารจัดการกลุ่มอาชีพทอผ้ามัดหมี่โทเรสู่ความเป็นต้นแบบหลักสูตรปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา พบว่า ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มยังผลิตได้จำนวนน้อย ผลิตผ้าไม่ตรงกับความต้องการของตลาดจำหน่ายสินค้าที่เป็นผลิตภัณฑ์จากผ้าได้น้อย การรวมกลุ่มยังไม่ชัดเจนและจริงจัง

1.2 ปัญหาการบริหารจัดการกลุ่มอาชีพทอผ้ามัดหมี่โทเรสู่ความเป็นต้นแบบหลักสูตรปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา พบว่า สมาชิกกลุ่มขาดความรู้ความเข้าใจและทักษะในการออกแบบลายผ้า การยอมผ้าและการบรรจุผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองความต้องการของตลาด

2. แนวทางการพัฒนา ประกอบด้วย 1) การศึกษาดูงาน 2) ให้ความรู้แก่กลุ่มอาชีพ 3) นิเทศติดตามผลการดำเนินงาน

3. ผลการพัฒนาการบริหารจัดการกลุ่มอาชีพทอผ้ามัดหมี่โทเรสู่ความเป็นต้นแบบหลักสูตรปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา ด้านความรู้ความเข้าใจ พบว่า ก่อนการพัฒนากลุ่มผู้ร่วมวิจัยมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานกลุ่มอาชีพทอผ้ามัดหมี่โทเรสู่ความเป็นต้นแบบหลักสูตรปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 11.31 จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 56.57 หลังจากได้รับการพัฒนา กลุ่มผู้ร่วมวิจัย มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการทอผ้ามัดหมี่โทเร เพิ่มมากขึ้น โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 16.84 คิดเป็นร้อยละ 84.21 ส่วนการศึกษารายด้านพบว่า

3.1 ด้านการออกแบบลายผ้ามัดหมี่โทเร จากการสังเกตก่อนการพัฒนาผู้ร่วมวิจัยทั้ง 19 คน มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการออกแบบลายผ้าไม่มากนักสามารถออกแบบลายผ้าได้เพียง 3 ลาย คือ ลายตรง ลายขนมเปียกปูน ลายฟันปลา แต่หลังจากได้รับการพัฒนากลุ่มผู้ร่วมวิจัยทั้ง 19 คน มีระดับความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการออกแบบลายผ้า เพิ่มขึ้น 8 ลาย ซึ่งแสดงว่าผู้ร่วมวิจัยมีความก้าวหน้าในการพัฒนาเป็นอย่างมาก

3.2 ด้านการย้อมผ้ามัดหมี่โทเร จากการสังเกตพบว่าหลังจากการพัฒนาโดยการประชุมเชิงปฏิบัติการและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ วงรอบที่ 1 กลุ่มผู้ร่วมวิจัยส่วนใหญ่ยังทำการย้อมผ้าแบบเดิมซึ่งจะทำให้สีตกง่าย ผ้าซีดเร็ว จึงนำไปพัฒนาต่อในวงรอบที่ 2 โดยใช้แนวทางการพัฒนาการนิเทศติดตามผลการย้อมผ้ามัดหมี่โทเร วงรอบที่ 2 พบว่า ผู้ร่วมวิจัยมีความสามารถในการย้อมผ้าได้เป็นอย่างดี สีไม่ตกและสีผ้าไม่ซีดจางเร็วลูกค้าพอใจในผลิตภัณฑ์

3.3 ด้านการบรรจุผลิตภัณฑ์ผ้ามัดหมี่โทเร จากการสังเกตพบว่าก่อนการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาการบริหารจัดการกลุ่มอาชีพทอผ้ามัดหมี่โทเรสู่ความเป็นต้นแบบหลักสูตรปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา ยังไม่มีการบรรจุผลิตภัณฑ์ เมื่อมีผู้มาซื้อก็จะพับใส่ถุงหิ้วให้กับลูกค้า หลังจากมีการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาการบริหารจัดการกลุ่มอาชีพทอผ้ามัดหมี่โทเรสู่ความเป็นต้นแบบหลักสูตรปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาแล้ว มีการลงนํ้ายาผ้าก่อนพับใส่ถุงใสอย่างสวยงาม หรือบางผืนที่มีราคาแพงก็จะบรรจุใส่กล่องห่ออย่างดี จึงทำให้ผลิตภัณฑ์เป็นที่สนใจของลูกค้าและมีมูลค่าเพิ่มมากยิ่งขึ้น

Abstract

This research aims to: 1) study and career management issues woven into the original course, the ground rush up the economic problems in the schools. 2) Guidelines for Management Development group Toray Textiles into the ground so the Philosophy of Sufficiency Economy in schools, 3) The development of career management material part of the original ground Sufficiency Economy Philosophy in schools. Using a participatory action research process. The second cycle. Each cycle consists of four phases: planning, action, observation and reflection. Goal of this research is a joint research group of 19 patient and a total of 26 subjects were used for evaluation. Observation and interviews. Quantitative data analysis, statistics, mean, standard deviation, percent. And percentage progress. Quality monitoring data. The investigators analyzed the content. Classification of the content and presentation of data, descriptive analysis.

The results showed that :

1. Condition and issue management group Toray Textiles ground to the Philosophy of Sufficiency Economy as a model in this study.

1.1 Status and Problems of ground Toray Textile Management group to the model in the Philosophy of Sufficiency Economy. The group also produced a small number of products. Fabric does not meet the needs of the market. Product is the product of a few boards. Integration is not clear and serious.

1.2 Problem Management group Toray Textiles ground to the Philosophy of Sufficiency Economy as a model in this study. Members lack the knowledge and skills to design patterns. Dyeing and packing products to meet market demand.

2. Development : 1) Education, 2) Educating group 3) Supervision of the implementation.

3. Effective management development group Toray Textiles ground to the Philosophy of Sufficiency Economy model showed that in the first group. Participants with the knowledge and understanding about the occupational groups woven into the original ground Toray Sufficiency Economy Philosophy in schools. The mean score was 11.31 out of 20 points, equivalent to 56.57 percent after it was developed. Group participants with knowledge. Understanding of the Toray Textiles ground up. The mean score was 16.84, representing 84.21 percent, the study also fond that.

3.1 The design of the ground Toray observed before the development of the 19 participants with the knowledge and understanding of design patterns are. Design patterns can be just 3 pattern is a design pattern serrated diamond pattern. But later developed. Among the 19 participants with knowledge. Understanding of the design patterns the pattern Sei 8 shows that there is significant Progress in the development.

3.2 The ground dyed Toray. From that observed after development. By a workshop. And leaning activities, Circle around one group of participants to make the same dye. This will discolor easily. Fabric has faded fast. Thus leading to further development in the second round by the development of guidelines for implementation of the second round of the Toray stained ground showed that participants were able to dye very well Colors do not bleed and fade resistant color fast. Customer satisfaction in our products.

3.3 The packing Toray ground. From the observed. Before the workshop, development, career management, Toray Textiles into the ground so the course is large enough to rush in school. No packing. When people buy they will fold the bag to the customer. After a management career development workshops woven into the original ground Toray Sufficiency Economy Philosophy in education. With water before Folding the cloth bags of drugs as well. Some pieces are more expensive but are packaged well wrapped box. Making products be of interest to customers and put more valueadded.


ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 147

วันนี้: 1,351

เมื่อวานนี้: 471

จำนวนครั้งการเข้าชม: 826,903

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033