...
...
เผยแพร่: 31 ส.ค. 2556
หน้า: 243-250
ประเภท: บทความวิจัย
View: 190
Download: 218
Download PDF
การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้กลวิธีเมตาคอกนิชัน เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
Development of Mathematic Learning Activities Using Matacognitive Strategies on Mathematics Problem Solving of Prathom Suksa 1 Students
ผู้แต่ง
ญจมาศ ธรรมศุภินทร์, เพลินพิศ ธรรมรัตน์
Author
Benjamas Thammasuphin, Ploenpit Thummarat

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้กลวิธีเมตาคอกนิชัน เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียน หลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้กลวิธีเมตาคอกนิชัน เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 13) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้กลวิธีเมตาคอกนิชัน เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ กับเกณฑ์ที่กำหนด คือ สูงกว่าร้อยละ 70 4) ศึกษาเจตคติของนักเรียนต่อกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้กลวิธีเมตาคอกนิชัน เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนบ้านดอนกอย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 จำนวน 11 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้กลวิธีเมตาคอกนิชันแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ แบบวัดเจตคติของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้กลวิธีเมตาคอกนิชัน การวิจัยครั้งนี้ใช้แบบแผนการทดลองแบบ One Group Pretest – Posttest Design สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าร้อยละ ทดสอบสมมติฐานในการวิจัยโดยการทดสอบ t-test Dependent Samples

ผลการวิจัยพบว่า

1. กิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้กลวิธีเมตาคอกนิชัน เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 77.36 / 76.82 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ 70/70

2. นักเรียนที่ได้รับการเรียนการสอนด้วยกิจกรรมการเรียนรรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้กลวิธีเมตตาคอกนิชันมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. นักเรียนที่ได้รับการเรียนการสอนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้กลวิธีเมตาคอกนิชันมีความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ หลังเรียนมีค่าเท่ากับ ร้อยละ 74.55 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดคือ สูงกว่า ร้อยละ 70

4. นักเรียนมีเจตคติต่อกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้กลวิธีเมตาคอกนิชัน เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 อยู่ในระดับมากที่สุด

Abstract

The purposes of this research were 1) to developing mathematical activities the metacognition strategy entitled addition or subtraction for Prathom Suksa to gain efficiency set of 70/70 2) to compare the student’s learning achievement in mathematical activities both before and after being taught by the metacognition strategy for Prathom Suksa 1 3) to compare mathematics problem solving ability of Prathom Suksa 1 students after learning mathematics instruction using metacognitive strategies with the criteria higher than 70 percent 4) to exploring the student’s attitudes toward mathematical activity using the metacognition strategy.

The sample used in study consisted of 11 Prathom Suksa 1 students attending Ban Don Kroy School under the office of Sakon Nakhorn Educational Services in the second semester of the academic year 2011, obtained through purposive sampling technique. The collected data were analyzed by percentage, means of arithmetic means, standard deviation, and t-test.

The findings of this study were as follows :

1. The mathematical activities employing the metacognition strategy on addition or subtraction for PrathomSuksa 1 indicated that the efficiency was 77.36 / 76.82 which was higher than the criterion set of 70/70.

2. The students gained learning achievement in mathematics after being taught by the metacognition strategy on addition or subtraction at the higher level than before learning with this strategy at the .01 level of significance.

3. The mathematics instruction using Metacognitive strategies on mathematics problem solving ability after learning mathematics instruction was 74.55 which was higher than 70 percent.

4. The student’s attitudes toward the mathematical activity applying the metacognition strategyon  addition or subtraction in Prathom Suksa 1 were at the higher level.


ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 59

วันนี้: 0

เมื่อวานนี้: 1,320

จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,309

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033