...
...
เผยแพร่: 31 ส.ค. 2556
หน้า: 233-242
ประเภท: บทความวิจัย
View: 189
Download: 222
Download PDF
การพัฒนาครูผู้ดูแลเด็กในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลดงเย็น อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี
Development of Child caregivers on Providing Integrated learning experiences in early childhood development centers, Dong Yen Subdistrict Administration Organization, Ban Dung District, Udonthani
ผู้แต่ง
นุชนาถ บุญหล้า, ไชยา ภาวะบุตร, ภิญโญ ทองเหลา
Author
Nutchanat Boonla, Chaiya Pawabutra, Pinyo Thonglao

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาของครูผู้ดูแลเด็กในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการ 2) หาแนวทางการพัฒนาครูผู้ดูแลเด็กในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการ และ 3) ติดตามและประเมินผลการพัฒนาครูผู้ดูแลเด็ก ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลดงเย็น อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูผู้ดูแลเด็ก จำนวน 12 คน โดยใช้การวิจัยปฏิบัติการ 2 วงรอบ แต่ละวงรอบประกอบด้วย ขั้นการวางแผน ขั้นการปฏิบัติการ ขั้นการสังเกตการณ์ ขั้นการสะท้อนกลับ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบทดสอบ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพปัญหาของครูผู้ดูแลเด็กในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการก่อนพัฒนาพบว่า ครูผู้ดูแลเด็กมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการค่อนข้างน้อย ไม่สามารถเขียนแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการและไม่เคยจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการ ส่งผลให้การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของครูผู้ดูแลเด็กไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ซึ่งครูผุ้ดูแลเด็กมีความต้องการและยินดีเข้ารับการพัฒนาเพื่อเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจและทักษะในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

2. แนวทางการพัฒนาครูผู้ดูแลเด็กในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการใช้แนวทางการประชุมเชิงปฏิบัติการ และการนิเทศภายใน

3. การติดตามและประเมินผลการพัฒนาครูผู้ดูแลเด็กในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการ พบว่า ครูผู้ดูแลมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการเพิ่มมากขึ้น ครูผู้ดูแลเด็กมีความสามารถในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการโดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และครูผู้ดูแลเด็กสามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการ 6 ขั้นตอน โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับน้อย ส่งผลให้เด็กมีพฤติกรรมการเรียนรู้โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับปานกลาง หลังการนิเทศภายในให้คำแนะนำ ปรึกษา ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการทำให้ครูผู้ดูแลเด็กเกิดความมั่นใจ และสามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยรวมมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด ส่งผลให้เด็กมีพฤติกรรมการเรียนรู้โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด

Abstract

The purposes of this research were to 1) investigate current states and problems of the child caregivers in providing integrated learning experiences, 2) find out guidelines in providing integrated learning experiences, and 3) monitor and evaluate the effects of the development of the child caregivers in providing integrated leaning experiences for the early childhood development center under Dong Yen Subdistrict Administration Organization, Ban Dung , Udon Thani. The target group comprised 12 child caregivers. A two-spiral action research comprising: planning,action,observation and reflection in each spiral was employed. The instruments used were tests, evaluation forms for integrated lesson plans, observation forms, interview forms and evaluatiuon forms on lesson plans. Statistics used were percentage, mean and standard deviation.

The results of this study were:

1) The states and problems of the child caregivers in providing integrated learning experiences indicated that the child caregivers obtained quite low knowledge and understanding in providing integrated learning experiences. They could not write lesson plans for providing integrated learning experiences and they never provided integrated learning experiences. This caused the child caregivers’ learning experiences not efficient as they should have been. However, these child caregivers needed and were willing to participate in the development to improve their knowledge ,understanding and skills to make the provision of integrated learning experiences more efficient.

2) The guidelines for developing the child caregivers in providing integrated learning experiences included a workshop and internal supervision.

3) The monitoring and evaluation on the development for the child caregivers in providingintegrate d learning experiences in the first spiral revealed that the child caregivers’knowledge and understanding increased. The child caregivers were able to write lesson plans for integrated learning experiences at the high level. The child caregivers were able to provide six-step integrated learning experiences at the low level as a whole. This affected the improvement of the students’ learning behaviors at the moderate level. In the second spiral, after the internal supervision to help one another with advice and exchange of knowledge in providing integrated learning experiences, it was also found that the child caregivers were confident and able to implement integrated learning experiences effectively, as a whole, with appropriateness at the highest level. Eventually, this affected the early childhood to obtain proper learning behaviors at the highest level in general.


ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 61

วันนี้: 0

เมื่อวานนี้: 1,322

จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,311

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033