...
...
เผยแพร่: 31 ส.ค. 2556
หน้า: 223-231
ประเภท: บทความวิจัย
View: 162
Download: 219
Download PDF
การพัฒนาครูผู้ดูแลเด็กในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการศูนย์พัฒนา เด็กก่อนวัยเรียนเทศบาลเมืองมุกดาหาร ชุมชนนาโป–โคกสุวรรณ (2548)
Development of the Child Caregivers on Application of Integrated Learning Experience Management at the Child Care Center in Na Po-Khok Suwan Comminity under Mueang Mukdahan Municipality
ผู้แต่ง
เผด็จศักดิ์ อุทาวงค์, สันต์ ธรรมบำรุง, อนันต์ งามสะอาด
Author
Phadechsak Uthawong, Sant Thumbumrung, Anan Ngam Saard

บทคัดย่อ

การจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ เป็นแนวทางในการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นศูนย์กลางอีกรูปแบบหนึ่งที่พัฒนาความสามารถของเด็กปฐมวัยในทุกๆ ด้านโดยเนื้อหาการจัดประสบการณ์ สอดคล้องกับความสนใจความถนัด และความเหมาะสมกับท้องถิ่นของเด็กมากที่สุดซึ่งการจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยเป็นการจัดการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับเด็กในการเรียนในระดับชั้นต่อไปไม่เน้นที่การอ่านออกเขียนได้ จึงเป็นการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากการจัดการศึกษาระดับอื่นๆ การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาบุคลากรในการพัฒนาครูผู้ดูแลเด็กในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนเทศบาลเมืองมุกดาหาร ชุมชนนาโป–โคกสุวรรณ (2548) ให้มีความรู้ความเข้าใจและสามารถจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ ตามขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ทั้ง 6 ขั้นตอนคือการกำหนดหัวเรื่องที่จะสอน การกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ การกำหนดเนื้อหาย่อย การวางแผนการสอน การปฏิบัติการสอน การประเมินปรับปรุงและพัฒนาการสอน โดยใช้หลักการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ซึ่งประกอบด้วย การวางแผน (Planning) การปฏิบัติ (Action) การสังเกต (Observation) และการสะท้อนผล (Reflection) กลุ่มผู้ร่วมวิจัย มีจำนวน 5 คน ประกอบด้วยผู้วิจัยซึ่งเป็นหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และกลุ่มผู้ร่วมวิจัยซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายและเป็นกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 4 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินแผนการจัดประสบการณ์แบบสังเกตการณ์จัดประสบการณ์ แบบประเมินการจัดประสบการณ์ แบบบันทึกการประชุมการตรวจสอบข้อมูลใช้เทคนิคการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉล่ยี ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา และนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าโดยวิธีพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาบุคลากรการพัฒนาครูผู้ดูแลเด็กในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนเทศบาลเมืองมุกดาหาร ชุมชนนาโป–โคกสุวรรณ (2548) โดยใช้กลยุทธ์การประชุมเชิงปฏิบัติการและการนิเทศการศึกษา ในวงรอบที่ 1 โดยการเชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการมาให้ความรู้ และการนิเทศการศึกษาโดยผู้ศึกษาค้นคว้าเป็นผู้นิเทศการศึกษาทำให้บุคลากรทุกคนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ สามารถเขียนแผนการเรียนรู้และจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ ได้แต่บุคลากรบางคนยังขาดความชำนาญในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์และการจัดประสบการณ์อยู่บ้างในบางขั้นตอน จึงได้มีการพัฒนาในวงรอบที่ 2 โดยใช้กิจกรรมการนิเทศการศึกษาบุคลากรผู้ร่วมศึกษาค้นคว้าได้ช่วยเหลือให้คำปรึกษาแนะนำซึ่งกันและกันโดยมีผู้วิจัยเป็นผู้นิเทศการสอนคอยให้คำแนะนำปรับปรุงแก้ไขในส่วนที่บกพร่อง ทำให้ผู้ดูแลเด็กสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการได้ตามขั้นตอนของการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ เด็กปฐมวัยมีความสุขกับการได้ร่วมการจัดประสบการณ์ของผู้ดูแลเด็กโดยสรุป การพัฒนาครูผู้ดูแลเด็กในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนเทศบาลเมืองมุกดาหาร ชุมชนนาโป–โคกสุวรรณ (2548) โดยใช้กลยุทธ์การประชุมเชิงปฏิบัติการ และการนิเทศการศึกษาทำให้บุคลากรกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในการจัดจัดประสบการณ์แบบบูรณาการสามารถเขียนแผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการและจัดประสบการณ์แบบบูรณาการตามขั้นตอน 5 ขั้นตอนได้เป็นอย่างดี จึงควรสนับสนุนและส่งเสริมให้นำกลยุทธ์ทั้งสอง ไปใช้พัฒนาบุคลากรศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอื่นๆ ต่อไป

Abstract

The application of integrated experience management is always considered as a means of learning implementation focusing on learner-centered approach to develop preschool children’s abilities in every aspect. Contents taught to provide experiences for children at this level have to be consistent with the children’s interests, expertise /skills and appropriateness with the needs of certain communities. The implementation of preschool education is emphasized on preparing the preparedness of the children to further their studies in the next advanced steps. The difference of implementing education at this level with other levels is that literacy is not focused on. The objective of this study was to develop the personnel at the Center in their capacities of the child caregivers to gain learning experiences with an emphasis on learner-centered approach at the Center. The personnel mentioned were provided with knowledge, understanding and abilities in implementing the integrated learning approach comprising 6 steps: setting of the topics to be taught, setting of learning objectives, setting of the sub-topics to be taught, planning of learning procedures, learning implementation and assessment, improvement and development of learning processes. An action research employed was composed of 4 stages: planning, action, observation and reflection. The target group consisted of the head of the Center’s child caregivers as the researcher along with the 4 child caregivers who were considered as the coresearchers representing the target group and informants as well. Tools used to collect data comprised tests, an observation form, a form of interview, an evaluation form of experience application plan, an observation form of experience implementation, a form of experience application evaluation and minutes of meetings. Triangulation technique was applied to analyze data. To analyze quantitative data, percentage and mean were used. Content Analysis was employed to analyze qualitative data. The presentation of qualitative data was in forms of a descriptive analysis.

The findings were as follows:

In terms of personnel development, the development of the child caregivers at the Center (2005) in implementing the integrated experience management using strategies of workshops and educational supervision through the invitation of resource persons and experts to provide knowledge on the integrated experience management, in the first spiral, indicated that all of the personnel gained a better understanding at a certain degree , could write experience implementation plans and apply the integrated experience approach. However, some child caregivers were found that they faced a lack of expertise in writing experience application plans and implementing experience plans in some steps as well. The activities of supervision were implemented to encourage the co-researchers to give a helping hand for one another with an assistance from the researcher. As a result,the child caregivers could apply the knowledge gained to implement the integrated experience management step by step. Moreover,the preschool children at the Center were happy in participating the activities provided. In conclusion, the development of the child caregivers at the Center(2005) in Na Po- Khok Suwan Community in managing the integrated learning approach revealed that the targeted personnel gained a better knowledge and understanding toward the implementation of integrated experience management. In addition,they could write the plans of experience implementation and apply the operation of the better integrated experience management in the 5 steps mentioned. Eventually,these two strategies of the development process should be supported and promoted to be applied at other centers under Mueang Mukdahan Municipality.


ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 19

วันนี้: 0

เมื่อวานนี้: 1,267

จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,256

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033