...
...
เผยแพร่: 31 ส.ค. 2556
หน้า: 221-222
ประเภท: บทความวิจัย
View: 201
Download: 219
Download PDF
การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาผู้ดูแลเด็ก ด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดเทศบาลตำบลบ้านแก้ง อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร
Participatory Action Research to Develop Child Caregiver Managing Learning Experiences Child Care Center under Tambon Ban Keang Municipality Amphoe Dontan Mudahan Province
ผู้แต่ง
สิริมา พิกุลศรี, ชนินทร์ วะสีนนท์, สุรัตน์ ดวงชาทม
Author
Sirima phikulsri, Chanin Vaseenonta, Surat Dongchatom

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) โดยมีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาผู้ดูแลเด็กด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดเทศบาลตำบลบ้านแก้ง อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร 2) หาแนวทางการพัฒนาผู้ดูแลเด็กด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดเทศบาลตำบลบ้านแก้ง อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร
และ 3) ติดตามติดตามผลการพัฒนาผู้ดูแลเด็กการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดเทศบาลตำบลบ้านแก้ง อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร ใช้กระบวน การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ดำเนินการ 2 วงรอบ กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ คือ กลุ่มผู้ร่วมวิจัย จำนวน 5 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลเพิ่มเติม จำนวน 14 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบประเมิน แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต แบบทดสอบ แบบบันทึกการประชุม แบบนิเทศ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และจัดหมวดหมู่ของเนื้อหาและนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนาวิเคราะห์

ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพและปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาผู้ดูแลเด็ก ด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดเทศบาลตำบลบ้านแก้ง อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร

1.1 สภาพการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ สรุปได้ดังนี้ ปัจจุบันผู้ดูแลเด็กจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามความรู้ความเข้าใจในรูปแบบเดิมที่เคยจัดมา แต่การจัดกิจกรรมยังจัดแบบไม่ค่อยมีจุดหมาย ขาดการบันทึกหลังการจัดประสบการณ์ และการประเมินพัฒนาการเด็กยังไม่เป็นปัจจุบัน

1.2 ปัญหาในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ สรุปได้ดังนี้ ผู้ดูแลเด็กขาดความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ทำให้ขาดการบันทึกหลังการจัดประสบการณ์ ขาดการประเมินพัฒนาการเด็กในแต่ละกิจกรรมที่เป็นปัจจุบัน ซึ่งผลผลให้การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร

2. แนวทางการพัฒนาผู้ดูแลเด็กด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ประกอบด้วย 1) การประชุมเชิงปฏิบัติการ 2) การนิเทศภายใน พบว่า ผู้ดูแลเด็กทุกคนมีความสมัครใจ และมีความยินดีที่จะเข้ารับการประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานการศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและนำผลการเขียนแผนการจัดประสบการณ์เรียนรู้ไปสู่การปฏิบัติจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

3. ติดตามผลการพัฒนาผู้ดูแลเด็กด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดเทศบาลตำบลบ้านแก้ง อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร ได้ดำเนินการพัฒนาเป็น 2 วงรอบ ดังนี้

3.1 การพัฒนาในวงรอบที่ 1 กลุ่มผู้ร่วมวิจัยได้ดำเนินการจัดกิจกรรมในการพัฒนาผู้ดูแลเด็กด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ใช้แนวทางการพัฒนา การประชุมเชิงปฏิบัติการ และการนิเทศภายใน พบว่า ผู้ดูแลเด็กมีความเข้าใจในหลักการและวิธีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น เกิดทักษะและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ของตนได้อย่างเหมาะสม ทั้งในการเตรียมจัดประสบการณ์ พฤติกรรมของผู้ดูแลเด็ก และการใช้สื่อการเรียนรู้นั้นสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ในขณะเดียวกันในการจัดกิจกรรมและการประเมินผลต้องได้รับการปรับปรุงแก้ไข เพราะผู้ดูแลเด็กยังไม่สามารถกระตุ้นให้เด็กแสวงหาความรู้และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองได้ โดยการฝึกคิด ฝึกทำ และจินตนาการอย่างสร้างสรรค์ อีกทั้งการประเมินผลยังไม่หลากหลายเท่าที่ควร ซึ่งจะมีผลกระทบต่อตัวเด็กตามมาด้วยเช่นกัน จึงดำเนินการพัฒนาต่อในวงรอบที่ 2

3.2 การพัฒนาในวงรอบที่ 2 ได้ดำเนินการประชุมระดมความคิดเห็นเพื่อวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นจาก วงรอบที่ 1 พบว่า เกิดจากการจัดกิจกรรมที่ยังไม่เหมาะสมเท่าที่ควร และขาดการประเมินผลที่หลากหลายตามพัฒนาการของเด็กที่มีความแตกต่างกันตามวัยของเด็กแต่ละคน ดังนั้น ในการดำเนินการในวงรอบนี้ และได้ดำเนินการออกติดตามโดยการนิเทศภายในบ่อยขึ้น ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2554 – กุมภาพันธ์ 2555 เพื่อแนะนำ และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ซึ่งกลุ่มผู้ร่วมวิจัยสามารถดำเนินงานในแต่ละด้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ บังเกิดผลที่ดีต่อตัวเด็กและสร้างพัฒนาการได้อย่างเหมาะสมตามวัย เป็นที่น่าความพึงพอใจแก่คณะกรรมการและผู้ปกครองต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้ดูแลเด็กอย่างมาก

Abstract

The purposes of this research were 1) Study and implementation of Managing Learning Experiences Child Care Center under Tambon Ban Keang Municipality Amphoe Dontan Mudahan Province. 2) Guidelines for the care Managing Learning Experiences Child Care Center and 3) The development, implementation, monitoring and evaluation Managing Learning Experiences Child Care Center. This research employed two spirals of a four-stage participatory action research comprising planning, action, observation, and reflection. The target group consisted of the researcher and 5 coresearchers and 14 informants. The instruments used were a Evaluation on test interview observation supervision meetings. Qualitative data were analyzed n forms of content classification and presented in forms of descriptive analysis.

The findings of this research were as follows :

1. Study and implementation of Managing Learning Experiences Child Care Center under Tambon Ban Keang Municipality Amphoe Dontan Mudahan Province.

1.1 State of the learning experience. Summarized as follows. Current child care learning experiences, knowledge and understanding in its original form had not come. Activities but also a little pointless. I lack the experience. Development and evaluation of a child is not present.

1.2 Problems in the learning experience. Summarized as follows. The lack of child care. The correct understanding about the learning experience. The lack of experience behind it. The lack of development in each child activity that is present. The result is a learning experience as it could be inefficient.

2. The development of a learning experience for the children in the Child Development Center. 1) workshop to improve the care of children, 2) the administrative supervision of all children is voluntary. And are willing to attend the workshop participants to enhance their knowledge. Understanding the learning experience by the Child Development Center of governments and the results writing business plans, learn to practice more efficiently.

3. Follow the development of the child care field is a learning experience. Second cycle.

3.1 The first round of group has carried out a research activity in the field of child development and learning experiences. The development. Workshop to develop a child. And Supervision. Results showed that the children have an understanding of the principles and methods of increasing the learning experience. Skills and can be applied to perform their duties properly. In preparation for the experience. Behavior of the child. And using learning materials that can be processed efficiently. But at the same time in the organized activities and assessments to be adjusted. Because caregivers can encourage children to seek knowledge and self-knowledge through imagination and creative thinking
training. The evaluation is not enough variety. This will have an impact on the children as well. Therefore, the development in the second round.

3.2 The second round was conducted Focus Group on Problems arising from the first round of the event that there is still not enough. And a lack of evaluation of the development of children with different ages of children in each of the operations in this loop. The research group has carried out more often followed by supervision. Between November 2554 - February 2555 to guide and assist each other. Which all participants can operate effectively in the field. Generating a positive impact on child development and age-appropriate. It is to the satisfaction of the Board of Directors and parents with the learning experiences of the children very much.


ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 53

วันนี้: 0

เมื่อวานนี้: 1,373

จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,362

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033