...
...
เผยแพร่: 31 ส.ค. 2556
หน้า: 201-210
ประเภท: บทความวิจัย
View: 305
Download: 229
Download PDF
การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนศิลปะ สาระทัศนศิลป์ โดยใช้รูปแบบ การจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT สอดแทรกแนวคิดพหุสัมผัส ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
Development of the Learning Activity in Visual art Substance Using 4MAT Learning Model infused with Multisensory Approach for Prathom Suksa 3
ผู้แต่ง
รดา นารถโคษา, ภูมิพงศ์ จอมหงษ์พิพัฒน์, ประยูร บุญใช้
Author
Rada Nardkosa, Bhumbhong Jomhongbhibhat, Prayoon Boonchai

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนศิลปะ สาระทัศนศิลป์ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT สอดแทรกแนวคิดพหุสัมผัส ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนศิลปะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT สอดแทรกแนวคิดพหุสัมผัสก่อนเรียนและหลังเรียน 3) ศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนศิลปะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT สอดแทรกแนวคิดพหุสัมผัส

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนโพนงามโคกวิทยาคาร ศูนย์อำนวยการเครือข่ายนาแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 12 คน โดยใช้วิธีสุ่มแบบเป็นกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้กิจกรรมการเรียนการสอนศิลปะ สาระทัศนศิลป์ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT สอดแทรกแนวคิดพหุสัมผัส ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนศิลปะ สาระทัศนศิลป์ 3) แบบทดสอบภาคปฏิบัติกิจกรรมศิลปะโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT สอดแทรกพหุสัมผัส 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนในการพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนศิลปะ สาระทัศนศิลป์ ภายหลังการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ สังเคราะห์ แปลความหมายในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t-test ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1. กิจกรรมการเรียนการสอนศิลปะ สาระทัศนศิลป์ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT สอดแทรกแนวคิดพหุสัมผัส ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.66/82.50 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด

2. นักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT สอดแทรกแนวคิดพหุสัมผัส มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติท่รี ะดับ .01

3. นักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT สอดแทรกแนวคิดพหุสัมผัส มีความพึงพอใจต่อการเรียนอยู่ในระดับพึงพอใจมาก

Abstract

The purposes of this research were: 1) to development of the learning activity in visual art substance using 4MAT learning model infused with multisensory approach for Pratom Suksa 3 to have a required efficiency of 80/80 2) to compare learning achievement of art for Pratom Suksa 3 students who learned using 4MAT learning model infused with multisensory approach, and 3) to study satisfaction to instruction of art for Pratom Suksa 3 students who learned using 4MAT learning model infused with multisensory approach.

The sample used in this research consisted of Pratom Suksa 3 (grade 3) students at PonngamKhokwittayakran School Nakaew network directorate center under the Office of Sakon Nakhon educational service area 1 obtained using the cluster random sampling technique. The instruments used in the research were: 1) plans for art learning activity of visual art by using 4MAT learning model infused with multisensory approach for Pratom Suksa 3. 2) an achievement test of art learning activity of visual art 3) The test of practical part of art by using 4MAT learning model infused with multisensory approach 4) The questionnaires of satisfaction of students to instruction of art for Pratom Suksa 3
students who learned using 4MAT learning model infused with multisensory approach. The statistics used for analyzing the collected data were percentage, mean, and standard deviation and independent sample t-test was employed for testing hypotheses.

The results of the research were as follows:

1. The learning activity in visual art substance using 4MAT learning model infused with multisensory approach for Pratom Suksa 3 had efficiencies of 81.66/82.50 respectively.

2. Students who learned using 4MAT learning model infused with multisensory approach for Pratom Suksa 3 had high learning achievement at the .01 level of significance.

3. Satisfaction of students to instruction of art for Pratom Suksa 3 who learned using 4MAT learning model infused with multisensory approach for Pratom Suksa 3 had high level.


ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 51

วันนี้: 0

เมื่อวานนี้: 1,349

จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,338

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033