...
...
เผยแพร่: 31 ส.ค. 2556
หน้า: 179-189
ประเภท: บทความวิจัย
View: 249
Download: 219
Download PDF
การศึกษารายกรณีนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีปัญหาด้านการอ่าน และการเขียนภาษาไทย โรงเรียนบ้านแป้นสามัคคีราษฎร์บำรุง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1
A Case Study of Prathom Suksa 4 Students Who Had Problems of Reading and Writing in Thai at Ban Pan Samakkee Rartbumrung School under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 1
ผู้แต่ง
สุรัตติยา วงศ์รำพันธ์, ภูมิพงศ์ จอมหงษ์พิพัฒน์, สำราญ กำจัดภัย
Author
Surattiya Wongrumpun, humbhong Jomhongbhibhat, Sumran Gumjaipai

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาปัญหาและสาเหตุของการขาดความสามารถในการอ่านและการเขียนภาษาไทยของนักเรียนที่ทำการศึกษารายกรณี 2) ศึกษาแนวทางการช่วยเหลือและดำเนินการช่วยเหลือนักเรียนที่มีปัญหาในด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทย 3) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านและการเขียนภาษาไทยของนักเรียนที่ทำการศึกษารายกรณี ก่อนและหลังการได้รับการศึกษารายกรณี โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทย

กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนบ้านแป้นสามัคคีราษฎร์บำรุง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ที่มีปัญหาในการอ่านและการเขียนภาษาไทย จำนวน 3 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ประเภท คือ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ แบบสังเกตพฤติกรรม แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการเยี่ยมบ้าน อัตชีวประวัติ แบบบันทึกประจำวัน แบบสอบถาม และระเบียนสะสม 2) เครื่องมือที่ใช้ในการแก้ปัญหาเพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านและการเขียนภาษาไทย ได้แก่ แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านและการเขียนภาษาไทย และแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ

ผลการวิจัยพบว่า

1. สาเหตุของการขาดความสามารถในการอ่านและการเขียนภาษาไทยของนักเรียนที่ทำการศึกษารายกรณี ได้แก่ ปัญหาส่วนตัวของนักเรียน ปัญหาจากครอบครัว และปัญหาจากการสอนของครู

1.1 ปัญหาส่วนตัวของนักเรียน ที่ทำให้นักเรียนขาดความสามารถด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทย ได้แก่ ไม่สนใจการเรียน ขาดความมั่นใจในตนเอง เมื่อไม่เข้าใจบทเรียนไม่กล้าซักถามครู ทำให้เรียนตามเพื่อนไม่ทัน

1.2 ปัญหาจากครอบครัว ที่ทำให้นักเรียนขาดความสามารถด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทย เนื่องมาจากสภาพครอบครัวมีฐานะยากจน ผู้ปกครองประกอบอาชีพทำนาและรับจ้างทั่วไป ขาดความอบอุ่นขาดการดูแลเอาใจใส่กวดขันในเรื่องการเรียน

1.3 ปัญหาจากการสอนของครู ที่ทำให้นักเรียนขาดความสามารถด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทย มีสาเหตุมาจาก เทคนิควิธีการสอนภาษาไทยของครูไม่เหมาะสม สอนแบบเดิมๆ ทุกครั้ง ไม่เร้าความสนใจ สอนเร็วเกินไป การจัดบรรยากาศในชั้นเรียนไม่เอื้อต่อการเรียนรู้

2. แนวทางการช่วยเหลือและดำเนินการช่วยเหลือนักเรียนที่มีปัญหาในด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทย ได้แก่ ให้คำปรึกษาเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาตนเองให้การเสริมแรง ชี้แนะแนวทางและวิธีการเรียนที่ถูกต้อง ให้ความเข้าใจและเอาใจใส่อย่างสม่ำเสมอ พัฒนาความสามารถในการอ่านและการเขียนภาษาไทย โดยการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทย จำนวน 9 แบบฝึก และประชุมปรึกษารายกรณีร่วมกับบุคคลที่เกี่ยวข้องเพื่อขอความร่วมมือในการแก้ปัญหาและการติดตามให้ความช่วยเหลือ

3. ผลการพัฒนาความสามารถในการอ่านและการเขียนภาษาไทย จากคะแนนการทดสอบวัดความสามารถในการอ่านและการเขียนภาษาไทยของนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย พบว่า นักเรียนทั้ง 3 ราย ได้คะแนนการอ่านภาษาไทยหลังเรียนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 93.81 ซึ่งสูงกว่าก่อนเรียน และมีคะแนนการเขียนภาษาไทยหลังเรียนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 95 ซึ่งสูงกว่าก่อนเรียน

Abstract

The purpose of this research were: 1) to study of lacking ability in reading and writing Thai among the students being studied and their causes, 2) to find ways to help deal with students who have problems of reading and writing in Thai, and 3) to compare the ability to reading and writing in Thai among the informants before and after they were instructed individually using drills and practices to increase their ability to reading and writing in Thai.

The target group were 3 encountering problems of reading and writing in Thai, who were in Prathom Suksa 4 Students in the academic year 2012 at Ban Pan Samakkee Rartbumrung School under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 1. The instruments used were two types : 1) Type one was used for collecting data comprising observation, interview, home visiting, autobiography, diary, questionnaire and cumulative record ; 2) The other type was used to solve problems by enhancing the informants’ ability to reading and writing in Thai comprising a test to measure their achievements of reading and writing in Thai before and after their problems were identified, and drills and practices aimed to help improve their to reading and writing in Thai. Statistics used for analyzing the quantitative data were percentage.

The findings were as follows:

1. The causes of the informants’ lacking ability to reading and writing in Thai were connected with their personal problems, their family problems and their teacher’ teaching problems.

1.1 The student’ personal problems that made them lack ability to reading and writing in Thai were their lacking in interest in learning, self-confidence, being afraid of asking their teacher when they did not understand that their lesson which made them can’t follow their lesson.

1.2 The student’s family problems that made them lack the ability to reading and writing in Thai were caused by their family poor, lacking of warmth and lacking care about of their study.

1.3 Their teacher’ teaching problems that made them lack the ability to reading and writing in Thai were teacher’ techniques are not appropriate, traditional instructors at all times, taught too early, the atmosphere classroom were not conducive to learning.

2. Assistance and guidance to help students who had problems that made them lack the ability to reading and writing in Thai were consulting to guide their own development, reinforcement, guidance and learning the correct way, understanding and empathy regularly, develop the ability to reading and writing in Thai by using enhancing the informants’ ability to reading and writing in Thai were 9, case consultation meetings with relevant persons for assistance in troubleshooting and monitoring assistance.

3. The development of the ability to reading and writing in Thai of test scores to measure the ability to reading and writing in Thai of the target group had points from posttest of reading average was 93.81 which had higher than previous study and posttest of writing average was 95 which had higher than previous study.


ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 56

วันนี้: 0

เมื่อวานนี้: 1,398

จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,387

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033