บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมโดยใช้หลักการเจริญสติปัฏฐาน 4 ตามแนวทางของหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดการอารมณ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสกลนครพัฒนศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการจัดการอารมณ์ของนักเรียนก่อนและหลังเข้าร่วมการอบรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 2 โรงเรียนสกลนครพัฒนศึกษาที่มีคะแนนความสามารถในการจัดการอารมณ์ต่ำกว่าเปอร์เซ็นไทส์ที่ 50 จำนวน 14 คน ที่ได้มาโดยการโดยการสุ่มอย่างง่ายจากประชากรที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ การวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการทดลองแบบ One Group Pretest-Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามวัดความฉลาดทางอารมณ์ด้านการจัดการอารมณ์ตนเอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเที่ยงตรง และการทดสอบค่าที (t - test แบบ Dependent Samples)
ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า
1. หลักสูตรฝึกอบรมโดยใช้หลักเจริญสติปัฏฐาน 4 ตามแนวทางของ หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ เพื่อพัฒนาความสามารถในการจัดการอารมณ์ของนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 2โรงเรียนสกลนครพัฒนศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 ที่พัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้ 1) หลักการและเหตุผล 2) แนวคิดพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร 3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตรฝึกอบรม 4) เนื้อหาการฝึกอบรม 5) กิจกรรมฝึกอบรม 6) สื่อในการฝึกอบรม 7) การวัดและประเมินผล 8) ตารางการฝึกอบรม และจากการประเมินของผู้เชี่ยวชาญหลักสูตรมีความสมบรูณ์อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉล่ยี เท่ากับ 4.74
2. นักเรียนที่เข้ารับการอบรมตามหลักสูตรฝึกอบรมที่พัฒนาขึ้น มีความสามารถในการจัดการอารมณ์ตนเอง หลังอบรมสูงกว่าก่อนอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Abstract
The purpose of this research were to : 1) to develop training programs using the principles developed by the four Foundations of Mindfulness Contemplative Luang Phor Thien Jitthasupho to enhance the mood of the students Mathayom Suksa 2 at Sakonnakonpatatasuksa School, The Office of Secondary Educational Service Area 23. 2) to compare the ability to manipulate the emotions of the students before and after participating in the training. The subjects of this study were 14 Mathayom Suksa 2 students at Sakonnakonpatatasuksa School randomly selected as a sample and they have the ability to manage the mood under 50th percentile. The instruments used in this research were a
questionnaire to measure the emotional intelligence and self-management test. A One-Group Pretest-Posttest Design was utilized in this study. The data were analyzed percentage, means of arithmetic mean, standard deviation, and t-test of (Dependent samples).
The results of this study revealed the following:
1. Training courses by using the four Foundations of Mindfulness develop guidelines of Luang Phor Thien Jitthasupho to manipulate the mood of the students Mathayom Suksa 2 at Sakonnakonpatatasuksa School, The Office of Secondary Educational Service Area 23 that has developed the following components : 1) Principle and Reason 2) Basic concepts in the curriculum 3) Purpose of the Training Course 4) Training Contents 5) Training Activities 6) Media Training 7) Measurement and Evaluation 8) Schedule Training. And from a complete assessment of the experts
mostly, the mean was 4.74.
2. Students who attend the training courses had a posttest results in emotional selfmanagement that was higher than their pretest at the .01 level of significant.
กำลังออนไลน์: 57
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 1,437
จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,426
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033