บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาในการจัดการเรียนรู้ ด้านการอ่านและการเขียนของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนบ้านผักคำภู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2, 2) หาแนวทางในการพัฒนาศักยภาพครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยในการจัดการเรียนรู้ด้านการอ่านและการเขียน โรงเรียนบ้านผักคำภู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 และ 3) ติดตามผลการพัฒนาศักยภาพครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยในการจัดการเรียนรู้ ด้านการอ่านและการเขียน โรงเรียนบ้านผักคำภู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการ ซึ่งมี 4 ขั้นตอน คือ ขั้นการวางแผน (Planning) ขั้นการปฏิบัติการ (Action) ขั้นการสังเกตการณ์ (Observation) และขั้นการสะท้อนกลับ (Reflection) ดำเนินการเป็น 2 วงรอบ กำหนดกลุ่มเป้าหมายเป็นครูผู้สอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบบันทึกการสัมภาษณ์ แบบประเมินการอบรมเชิงปฏิบัติการ แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมนักเรียน แบบประเมินพฤติกรรมการอ่านและการเขียนของนักเรียน และแบบประเมินการพัฒนาศักยภาพครูผู้สอน เก็บรวบรวมข้อมูลก่อน และหลังการพัฒนาแล้ววิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยวิธีการทางสถิติ และข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1) สภาพและปัญหาในการจัดการเรียนรู้ด้านการอ่านและการเขียนของครูผู้สอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนบ้านผักคำภู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 พบว่า ส่วนใหญ่ครูผู้สอนมีการนำแผนการจัดการเรียนรู้ไปใช้ในการจัดการเรียนรู้จริง มีการใช้แหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย และมีการวัดผลประเมินผลก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ ส่วนปัญหาที่เกิดขึ้นในการจัดการเรียนรู้ที่สำคัญ คือ ครูมีความรู้ความเข้าใจค่อนข้างน้อยไม่เพียงพอและขาดเทคนิควิธีการในการจัดการเรียนรู้ด้านการอ่านและการเขียนที่หลากหลาย ขาดการติดตาม กำกับดูแลเอาใจใส่นักเรียนที่มีปัญหาด้านการอ่านและการเขียนอย่างต่อเนื่อง และครูขาดการปรึกษาหารือในการแก้ปัญหานักเรียนในการอ่านและการเขียนอย่างจริงจัง
2) แนวทางที่ใช้ในการพัฒนาศักยภาพครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ในการจัดการเรียนรู้ด้านการอ่านและการเขียน โรงเรียนบ้านผักคำภู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 มี 2 แนวทาง คือ การอบรมเชิงปฏิบัติการ และการนิเทศติดตามผล
3) ผลการพัฒนาศักยภาพครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยในการจัดการเรียนรู้ ด้านการอ่านและการเขียน โรงเรียนบ้านผักคำภู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 พบว่า ก่อนการพัฒนาครู จำนวน 5 คน มีความรู้ความเข้าใจทักษะ กระบวนการ วิธีการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ด้านการอ่านและการเขียนค่อนข้างน้อย และสามารถเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ได้ถูกต้องอยู่ในระดับปานกลาง ( =2.60) หลังการพัฒนา ครูจำนวน 5 คน มีความรู้ความเข้าใจทักษะ กระบวนการ สามารถเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ได้เหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.72) ทำให้ครูสามารถเตรียมใช้แผนการจัดการเรียนรู้ไปวางแผนในการจัดการเรียนรู้เพื่อแก้ไขปัญหาด้านการอ่านและการเขียนของนักเรียนได้ ส่วนด้านการจัดการเรียนรู้ด้านการอ่านและการเขียน พบว่า นักเรียนจำนวน 35 คน ที่มีปัญหาด้านการอ่านและการเขียน ก่อนการพัฒนาสามารถอ่านและเขียนได้ถูกต้อง จำนวน 10-25 คน คิดเป็นร้อยละ 28.57-71.42 หลังการพัฒนานักเรียนสามารถอ่านและเขียนได้ถูกต้อง จำนวน 19-35 คิดเป็นร้อยละ 54.28-100
Abstract
The purposes of this study were to 1) investigate the current states and problems of learning management on reading and writing of Thai teachers at Ban Phak Kham Phu School under the Office of Sakon Nakhon Primary EducationalServiceArea 2, 2) find out guidelines to develop the teachers’potential in leaning manament on reading and writing, 3) follow up the results of the development of the Thai teachers in learning management on reading and writing. A 2-spiral action research procedure of 4 stages: planning, action, observationand reflectionwas employed. The participants consist of 5 Thai teachers while 35 students were considered as the sample. Instruments
applied included an interview form, a form of workshop evaluation, a form of students' behavior evaluation on reading and writing, and a form of teachers' competence development evaluation. Quantitative were analyzed using basic statistics. Content Analysis was used to analyze qualitative data.
The findings of this study were as follows:
1) The states and problems of learning manament on reading and writing of the Thai teachers at Ban Phak Kham Phu School under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 2 revealed that the lesson plans and various learning resources along with evaluation both before and after learning management were applied by most of the teachers.In case of problems, it was found that the teachers encountered a lack of knowledge and understanding which were at the quite low level, diverse techniques in teaching reading and writing, monitoring, continual overseeing those students with reading and writing problems as well as discussions on these problems.
2) The guidelines to develop the teachers' competency based on managing learning on the problems of reading and writing of the students at Ban Phak Kham Phu School under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 2 included a workshop to enhance the learners'knowledge and monitoring supervision to follow up and evaluate the development effects, give advice and suggestions, help one another as well as exchange ideas and knowledge on the
development.
3) The effects of the development of the teachers' potential on learning management of the students' problems on reading and writing at Ban Phak Kham Phu School indicated that, before the development, 5 teachers obtained quite low knowledge, understanding, skills, techniques of writing lesson plans on reading and writing. Their abilities of the lesson plan writing were at the moderate level ( = 2.60). After the development, it was determined that the 5 teachers gained knowledge, understanding, skills and procedures on writing lesson plans at the highest level ( =4.72). This made the teachers be able to prepare the lesson plans to be applied to solve the students' problems on reading and writing. In terms of learning management of reading and writing, it was also found that 10-25 out of 35 students with the reading and writing problems could read and write correctly, before the development, at 28.57-71.42 percent. Ahter the development, 19-35 out of 35 students with the reading and writing problems could read and write correctly at 54.28-100 percent.
กำลังออนไลน์: 53
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 1,384
จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,373
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033