...
...
เผยแพร่: 31 ส.ค. 2556
หน้า: 1-12
ประเภท: บทความวิจัย
View: 187
Download: 221
Download PDF
การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โรงเรียนบ้านอูนดง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2
Action Research for Developing the Teachers Potential based on Science Process Skills in the Learning Substance of Sciences at Ban Un Dong School Under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 2
ผู้แต่ง
จรรยา โถชาลี, ศิกานต์ เพียรธัญญกรณ์, ระภีพรรณ ร้อยพิลา
Author
Junya Thochalee, Sikan Pianthanyakorn, Rapeepan Roypila

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาเกี่ยวกับการมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 2) หาแนวทางพัฒนาศักยภาพครู 3) ศึกษาผลของการพัฒนาศักยภาพครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ด้านการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ดำเนินการ 2 วงรอบ แต่ละวงรอบประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) การวางแผน (planning) 2) การปฏิบัติการ (action) 3) การสังเกตการณ์ (observation) และ 4) การสะท้อนกลับ (reflection) กลุ่มเป้าหมายของการวิจัยครั้งนี้ คือ กลุ่มผู้ร่วมวิจัย จำนวน 5 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 53 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบทดสอบแบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต แบบประเมิน และแบบบันทึก การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละความก้าวหน้า การตรวจสอบข้อมูลเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) จัดหมวดหมู่ของเนื้อหาและนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนาวิเคราะห์

ผลการวิจัยพบว่า

1. ผลการศึกษาสภาพและปัญหาเกี่ยวกับการมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

1.1 สภาพ พบว่า ครูใช้การบรรยายตามหนังสือเรียนมากกว่าลงมือปฏิบัติและไม่เน้นการสอนด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

1.2 ปัญหา พบว่า ครูไม่มีความรู้เกี่ยวกับทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

2. แนวทางการพัฒนาศักยภาพครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ในวงรอบที่ 1 ใช้แนวทางการพัฒนา 2 แนวทาง คือ การประชุมเชิงปฏิบัติการ และการนิเทศภายใน ส่วนในวงรอบที่ 2 ใช้การนิเทศแบบกัลยาณมิตร

3. ติดตามและประเมินผลจากการพัฒนาศักยภาพครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ พบว่า

3.1 ด้านความรู้ ความเข้าใจ พบว่า ในวงรอบที่ 1 กลุ่มผู้ร่วมวิจัยทั้ง 5 คน มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับไม่ผ่านเกณฑ์ (\bar{x} = 18.20) การพัฒนาในวงรอบที่ 2 กลุ่มผู้ร่วมวิจัยมีความรู้ ความเข้าใจ อยู่ในระดับมาก (\bar{x} = 31.40)

3.2 ด้านความสามารถในการจัดการเรียนรู้ พบว่า ในวงรอบที่ 1 กลุ่มผู้ร่วมวิจัยทั้ง 5 คน มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับปานกลาง (\bar{x}​​​​​​​ = 3.03) การพัฒนาในวงรอบที่ 2 พบว่า ผู้ร่วมวิจัยมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ อยู่ในระดับมากที่สุด (\bar{x}​​​​​​​ = 4.67)

3.3 พฤติกรรมนักเรียนขณะที่เรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ พบว่า ในวงรอบที่ 1 นักเรียนขณะที่เรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับค่อนข้างดี (\bar{x}​​​​​​​ = 3.26) การพัฒนาในวงรอบที่ 2 พบว่า นักเรียนขณะที่เรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ อยู่ในระดับดี (\bar{x}​​​​​​​ = 4.07)

3.4 การตอบแบบสอบถามนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ พบว่า ในวงรอบที่ 1 นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับปานกลาง (\bar{x}​​​​​​​ = 2.71) การพัฒนาในวงรอบที่ 2 พบว่า นักเรียนได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ อยู่ในระดับมากที่สุด (\bar{x}​​​​​​​ = 4.80)

Abstract

The purposes of this study were 1) to investigate the current states and problems on obtaining science process skills of the teachers in the learning substance of sciences, 2) to seek for guidelines to develop the teachers' potential, 3) to identify the effects of the potential development of the teachers’ in sciences learning substance based on science process skills. A participatory action research (PAR) of 2 spirals with 4 phases comprising: planning, action, observation and reflection was applied. The population was composed of the researcher, 5 co-researchers and 53 informants. Instruments used were tests, a form of interview, a form of observation, a form of evaluation and a form of records. Mean, percentage, standard deviation and Percentage of Progress were employed for the analysis of quantitative data. Content Analysis was applied to analyze qualitative data in forms of content classification and descriptive presentation.

The findings of this study were as follows:

1. The effects of investigating the current states and problems of attaining science process skills among the teachers of the learning substance of sciences showed that :

1.1 The states indicated that the teachers in the learning substance of sciences employed the lecture style of teaching without an emphasis on science process skills.

1.2 The problems revealed that the teachers encountered a lack of knowledge and understanding on science process skills.

2. The guidelines to develop the teachers' competency in the learning substance of sciences based on science process skills, in the first spiral, included: a workshop and internal supervision. In the second spiral, amiable supervision was applied.

3. The monitoring and evaluation of the teachers' competence development showed that:

3.1 In case of knowledge and understanding, it was found that , in the first spiral, knowledge and understanding on science process skills of the 5 co-researchers, prior to the development, were under the level of the criteria set (\bar{x} = 18.20). In the second spiral, the co-researchers gained better knowledge and understanding at the high level (\bar{x} = 31.40).

3.2 In terms of abilities in implementing learning, it was determined that, in the first spiral, the co-researchers obtained the abilities in managing learning in sciences learning substance at the moderate level (\bar{x} = 3.30). In the second spiral, the further development of the teachers’ abilities in learning implementation in the learning substance of sciences based on science process skills were at the highest level (\bar{x}​​​​​​​ = 4.67).

3.3 The behaviors of the students while studying in the learning substance of sciences based on science process skills revealed that In the first spiral their behaviors while studying were at the quite high level (\bar{x}​​​​​​​ = 3.26). The development in the second spiral showed that their behaviors while studying were at the high level (\bar{x}​​​​​​​ = 4.07).

3.4 The response of the questionnaires provided among the students by the activities in the learning substance of sciences based on science process skills indicated that, in the first spiral, the students were provided the learning activities in the learning substance of sciences based on science process skills at the moderate level (\bar{x}​​​​​​​ = 2.71) before the development. After the intervention, In the second spiral it was found that the students were provided with learning activities in the learning substance of sciences based on science process skills at the highest level (\bar{x}​​​​​​​ = 4.80).


ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 25

วันนี้: 0

เมื่อวานนี้: 1,273

จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,262

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033